Page 28 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 28
การช่วยเหลือภาวะคุกคามชีวิต ได้แก่ การหยุดหายใจ ภาวะเลือดออก ภาวะช็อก หรือภาวะหมดความรู้สึก
ก่อนเป็นอันดับแรก
ภายหลังการดูแลภาวะวิกฤตเรื่องการหายใจ ทางเดินหายใจและการไหลเวียนของโลหิตแล้ว
ขั้นตอนจ าเป็นในการปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยเหล่านี้ตามล าดับความส าคัญ คือ Save life, Save limb และ
Function โดยมีหลักการดังนี้
1) ซักประวัติเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ท าให้กระดูกหัก เพื่อประเมินความรุนแรงและต าแหน่งของ
กระดูกที่หัก
2) ตรวจร่างกายทั้งตัว โดยให้ความส าคัญกับส่วนที่ได้รับอันตรายมากก่อน หากต้องถอดเสื้อผ้า
ให้ใช้วิธีตัดตามตะเข็บ อย่าให้ผู้บาดเจ็บถอดเองเพราะจะท าให้เจ็บปวดมากขึ้น สังเกตการปวด บวม รอยฟกช้ า
จ้ าเลือดหรือบาดแผล มีเสียงกระทบกันของปลายกระดูก (Crepitus) มีการผิดรูปของกระดูก เช่น การสั้นลง
ของกระดูกท่อนยาว (Shortening deformity) การโก่งงอของกระดูก การบิดหมุนของกระดูก มีการ
เคลื่อนไหวที่ผิดปกติ สูญเสียหน้าที่การท างานของกระดูก ตรวจระดับความรู้สึก การตรวจบริเวณที่กระดูกหัก
ต้องท าด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจท าให้ปลายกระดูกที่หักเคลื่อนเกยกันหรือทะลุออกนอกผิวหนัง ขณะ
ตรวจร่างกายต้องดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ประเมินการหายใจและการไหลของเลือด หากมีเลือดออกต้องห้าม
เลือด ถ้ามีบาดแผลต้องท าแผลให้สะอาดและปิดแผลด้วยผ้าสะอาด ในรายที่กระดูกหักแบบเปิดให้ใช้ผ้าสะอาด
คลุมปิดไว้แล้วปิดแผล ห้ามดึงกระดูกให้กลับเข้าที่
3) ถ้าพบผู้ประสบภัยที่มีกระดูกหักหมดสติให้หาสาเหตุและแก้ไขแล้วรีบน าส่งโรงพยาบาล
4) ถ้าผู้ประสบภัยรู้สึกตัวให้ช่วยบรรเทาอาการปวดและไม่เคลื่อนไหวบริเวณที่กระดูกหักเพื่อไม่
ท าให้กระดูกที่หักท าลายกล้ามเนื้อ เส้นเลือด และเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงโดยการดามกระดูกหรือ
เข้าเฝือกชั่วคราว (Splint) ไม่ควรให้น้ า อาหารและยา ให้รีบน าส่งโรงพยาบาล
3.2 หลักการปฐมพยาบาลด้วยการเข้าเฝือกชั่วคราว
การเข้าเฝือกชั่วคราวท าได้โดยใช้อวัยวะใกล้เคียงกับกระดูกที่หักหรือใช้วัสดุที่หาได้ในบริเวณที่เกิด
เหตุ เช่นไม้ กระดาน หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ที่มีความยาวระหว่างข้อที่อยู่เหนือและใต้กระดูกที่หัก ดังนี้
1) เข้าเฝือกอวัยวะที่หักตามลักษณะที่พบ ไม่ดัด ดึง ดัน เพื่อจัดให้เข้าที่
2) เข้าเฝือกโดยมัดยึดข้อต่อบริเวณเหนือและใต้ต าแหน่งที่กระดูกหักหรือมัดยึดบริเวณกระดูก
เหนือและใต้ต าแหน่งข้อที่หัก โดยหลีกเลี่ยงการมัดทับหรือใกล้ต าแหน่งที่หัก
3) ผูกเฝือกให้แน่นพอสมควร โดยต้องมีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายเพียงพอ หากพบอาการ
ขาดเลือดของอวัยวะส่วนปลาย เช่น ชา ซีด เย็น บวม ต้องรีบแก้ไขการมัดการผูกเฝือก
4) กรณีใช้วัสดุแข็ง เช่น แผ่นไม้ กิ่งไม้ ควรมีผ้ารองระหว่างไม้เฝือกกับอวัยวะที่หัก เพื่อไม่ให้
เฝือกกดลงผิวหนังโดยตรง
5) ไม่ควรใช้วัสดุที่เป็นเส้นขนาดเล็ก เช่น เชือกมัดเฝือกชั่วคราว ถ้าจ าเป็นควรใช้ผ้าหนารองก่อน
3.2.1 การปฐมพยาบาลกระดูกต้นแขนหัก
ให้สังเกตอาการบวมปวดบริเวณหัวไหล่ ยกแขนไม่ขึ้น กดเจ็บที่ต้นแขน กระดูกต้นแขนอาจหัก
ได้ทั้งส่วนต้น (ใต้ไหล่) ส่วนกลาง และส่วนที่อยู่เหนือข้อศอก ซึ่งมีวิธีการปฐมพยาบาลแตกต่างกันเล็กน้อย
28