Page 25 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 25
ระดับ การสูญเสียหน้าที่ของการบาดเจ็บไขสันหลัง
C8 - เคลื่อนไหวแขนและมือเองไม่ได้
- ท้องผูก ปัสสาวะไม่ได้
T1-6 - อัมพาตตั้งแต่กึ่งกลางอกลงไป
- ท้องผูก ปัสสาวะไม่ได้
T7-12 - อัมพาตตั้งแต่ระดับเอวลงไป
- ท้องผูก ปัสสาวะไม่ได้
L1-3 - อัมพาตระดับเชิงกรานและขา
- ท้องผูก ปัสสาวะไม่ได้
L3-4 - อัมพาตระดับขาท่อนล่าง ข้อเท้าและเท้า
L4-S5 - ระดับ L4-S1 อัมพาตของขา อวัยวะสืบพันธุ์และมีปัญหาในการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
- ระดับ S2-4 สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้
- ระดับ S3-5 สามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระได้
- ท้องผูก ปัสสาวะไม่ได้
2.2 การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บกระดูกสันหลังและไขสันหลังในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล
เป้าหมายในการดูแลระยะก่อนถึงโรงพยาบาล คือ ช่วยให้รอดชีวิต ป้องกันอันตรายต่อกระดูกสันหลัง
และไขสันหลังไม่ให้ถูกท าลายมากขึ้น ป้องกันภาวะแทรกซ้อนขณะเคลื่อนย้ายและให้ผู้บาดเจ็บมาถึง
โรงพยาบาลให้เร็วที่สุด โดยมีหลักการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ ดังนี้
2.2.1 ดูแลระบบทางเดินหายใจให้โล่ง ขณะเดียวกันต้องระวังไม่ให้กระดูกคอเคลื่อนโดยการ
ท า manual in line stabilization หรือการใส่อุปกรณ์พยุงคอชนิดแข็ง (Hard collar) ที่มีขนาดพอดีไม่หลวม
หรือแน่นเกินไป ในกรณีที่ผู้บาดเจ็บติดอยู่ในเบาะรถยนต์ ควรใช้กระดานแข็งสอดเข้าข้างหลังและใส่อุปกรณ์
พยุงคอก่อนจึงเคลื่อนย้ายไปยังเปล กรณีที่ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ถ้ามีหมวกนิรภัยติดอยู่กับ
ผู้บาดเจ็บควรถอดหมวกออก แต่ต้องมีคนช่วยกัน 2 คน ห้ามท าคนเดียว โดยคนแรกใช้มือข้างหนึ่งประคองที่
คางและมืออีกข้างประคองที่ท้ายทอย แล้วให้ผู้ช่วยอีกคนที่นั่งอยู่ด้านศีรษะผู้บาดเจ็บค่อยๆ เลื่อนหมวกนิรภัย
ออก หลังจากนั้นจึงใส่อุปกรณ์พยุงคอป้องกันไว้
2.2.2 ห้ามเลือดในจุดที่มีเลือดออกและสามารถห้ามได้
2.2.3 จัดให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าที่สบายและเจ็บปวดน้อยที่สุด โดยที่ไม่มีการบิดหรืองอของ
กระดูกสันหลัง ปกติจะให้ผู้บาดเจ็บนอนบนกระดานแข็งโดยบริเวณศีรษะและคออาจใช้ถุงทรายประคองไว้
ส่วนบริเวณทรวงอก ท้องและเข่า ควรรัดด้วยเทปยึดติดตัวกับไม้กระดาน เพื่อรักษาแนวโค้งของกระดูกให้
เหมือนปกติและป้องกันการเคลื่อนของกระดูกสันหลัง ในกรณีที่ไม่ได้รัดไว้กับกระดานควรเตือนผู้ป่วยไม่ให้ลุก
นั่งหรือเคลื่อนย้ายตัวเอง ยกเว้นมีอันตรายที่ต้องรีบออกจากที่เกิดเหตุเพื่อความปลอดภัย
2.2.4 การเคลื่อนย้าย (Transportation) ต้องใช้คนช่วยอย่างน้อย 3 คน ในการเคลื่อนย้าย
ผู้บาดเจ็บให้ใช้วิธีการกลิ้งไปทั้งตัว (log roll) โดยการให้ศีรษะ คอ ไหล่ หลัง สะโพกและขาเคลื่อนไปพร้อมกัน
ห้ามใช้แผ่นกระดานหรือผ้าเลื่อน (sliding sheet) ในการเคลื่อนย้าย
25