Page 27 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 27

3. การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีการบาดเจ็บของแขนขาและข้อ

               (First aid for extremities and joints injuries)
                      แขน ประกอบด้วย กระดูกต้นแขน (humerus) และกระดูกปลายแขน ซึ่งมีกระดูก 2 ชิ้น คือ กระดูก

               เรเดียส (radius bone) และกระดูกอัลนา (ulnar bone)
                      ขา ประกอบด้วย กระดูกต้นขา (femoral bone) และกระดูกขาท่อนล่างหรือกระดูกแข้ง ซึ่งมีกระดูก
               2 ชิ้น คือ กระดูกทิเบีย (tibial bone) และกระดูกฟิบูลา (fibula bone)
                  การบาดเจ็บต่อแขนขา (Extremities injury) หมายถึง การบาดเจ็บต่อผิวหนัง เนื้อเยื่อ หลอดเลือด กระดูก

               และเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขนขาด้วย

                   3.1 การประเมินผู้บาดเจ็บแขนขาและข้อ

                         การประเมินผู้บาดเจ็บแขนขาและข้อใช้หลักการดูแลผู้บาดเจ็บขั้นสูง โดยการประเมิน ABCDE อย่าง
               รวดเร็วเพื่อค้นหาและแก้ไขปัญหาที่คุกคามต่อชีวิต หลังจากนั้นจึงมาประเมินการบาดเจ็บที่แขนขาซึ่ง
               ประกอบด้วยการประเมินปัญหาต่างๆ ที่เป็นผลจากการบาดเจ็บ เช่น บวม ผิดรูปชัดเจน รอยฟกช้ า รอยถลอก

               แผลฉีกขาด หรือแผลเปิด จุดที่กดเจ็บ การคล าดูกระดูกเสียดสีกัน นอกจากนี้ต้องประเมินการบาดเจ็บที่หลอด
               เลือดและเส้นประสาทส่วนปลายด้วย โดยการประเมินความปวด ชีพจร การเคลื่อนไหว สีผิว อุณหภูมิ และการ
               ไหลเวียนของหลอดเลือดฝอยบริเวณเล็บ
                      กรณีที่มีอวัยวะขาดจากการบาดเจ็บควรพันห้ามเลือดส่วนที่ขาด และการดูแลอวัยวะส่วนที่ขาดควร

               ปฏิบัติ ดังนี้
                            1) ไม่จ าเป็นต้องล้างส่วนที่ขาด ยกเว้นสกปรกมากเท่านั้น
                            2) ห่ออวัยวะส่วนที่ขาดด้วยผ้าสะอาดชุบน้ าหมาดๆ หรือห่อด้วยก๊อซชุบน้ าเกลือนอร์มอล
                            3) ใส่ไว้ในถุงพลาสติก รัดปากถุงให้แน่น

                            4) วางถุงที่ใส่อวัยวะในภาชนะที่บรรจุน้ าผสมน้ าแข็งโดยมีสัดส่วนของน้ า 3 ส่วนและน้ าแข็ง 1 ส่วน
               เพื่อให้อวัยวะนั้นคงสภาพได้นานและไม่ให้สัมผัสกับความเย็นโดยตรงเพราะจะท าลายเนื้อเยื่อ
                            5) ถ้าไม่มีน้ าแข็งให้เก็บไว้ในที่เย็นห้ามถูกความร้อน

                             กระดูกหัก (Fracture) หมายถึง การแตกหักของกระดูกในลักษณะต่างๆ
               กระดูกหัก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
                            1) กระดูกหักชนิดไม่มีบาดแผลหรือชนิดปิด (Closed fracture) เป็นการแตกหักของกระดูกแล้วไม่
               ทะลุผิวหนังและไม่มีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณที่กระดูกหัก
                            2) กระดูกหักชนิดไม่มีบาดแผลหรือชนิดเปิด (Open fracture) เป็นการแตกหักของกระดูกที่มี

               กระดูกแทงทะลุผิวหนัง ท าให้มีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณที่กระดูกหัก กระดูกที่หักนี้อาจโผล่ออกนอกผิวหนัง
               หรือไม่ก็ได้แต่มีบาดแผลเห็นชัดเจน
                           ในเหตุการณ์สาธารณภัย ผู้ประสบภัยอาจมีกระดูกหักได้จากสาเหตุต่างๆ โดยกระดูกหักที่พบได้

               เสมอ ได้แก่ กระดูกกะโหลกศีรษะ (skull) กระดูกขากรรไกรล่าง (Lower jaw) กระดูกไหปลาร้า (Clavicle)
               กระดูกซี่โครง (Rib) กระดูกข้อมือ (Colle) กระดูกแขน (Humerus, Ulnar and Radius) กระดูกขา (Femur,
               Tibia) กระดูกเชิงกราน (Pelvic) และกระดูกสันหลัง (Spinal) ในรายที่เกิดอุบัติเหตุรุนแรง ควรประเมินและให้






                                                                                                       27
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32