Page 31 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 31
3.2.5 การปฐมพยาบาลกระดูกขาท่อนล่างหัก
กระดูกขาท่อนล่าง ประกอบด้วย กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และกระดูกน่อง (Fibula) ซึ่งอาจ
พบว่ามีกระดูกชิ้นใดชิ้นหนึ่งหัก หรือหักทั้งสองชิ้นก็ได้
การใช้ผ้าสามเหลี่ยม (Triangular bandage) พันเมื่อมีกระดูกขาท่อนล่างหัก
1) วางผ้ารองไว้ระหว่างขาทั้งสองข้างตั้งแต่หว่างขาถึงข้อเท้า
2) จับขาข้างที่ดีวางชิดขาข้างที่หัก
3) สอดผ้าเริ่มจากขาข้างที่ไม่บาดเจ็บ
4) มัดยึดขา 2 ข้างให้ติดกันโดยมัดที่ปลายเท้า
5) มัดยึดที่ข้อเท้า ข้อเข่า และต้นขา ตามล าดับ
ให้ปมผ้าคราวาทอยู่กึ่งกลางหรือด้านตรงข้ามกับที่บาดเจ็บ
ที่มา: ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย, 2559
3.2.6 การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่ข้อเคล็ด (First aid for Sprain)
ข้อเคล็ด (Sprain) เป็นการฉีกขาดของเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue) รอบๆ ข้อ เนื่องจากการถูก
ดึง ยึดหรือบิดมากเกิน ท าให้มีเลือดออกมาคั่งบริเวณที่มีแผลฉีกขาดหรือบริเวณรอบๆ ข้อ มีอาการปวดบวมช้ า
เคลื่อนไหวข้อนั้นได้น้อยหรือไม่ได้เลย ถ้าเส้นประสาทบริเวณนั้นช้ า หรือฉีกขาดมากจะมีอาการชาร่วมด้วย
การปฐมพยาบาลเมื่อข้อเคล็ด
ในระยะ 24-48 ชั่วโมงแรก หลังจากเกิดข้อเคล็ด ใช้หลัก RICE ดังนี้
R = Rest คือ การพัก ไม่ใช้ข้อหรืออวัยวะนั้น ๆ
I = Ice คือ การประคบด้วยความเย็น เพื่อลดอาการปวดบวมโดยประคบนานครั้งละประมาณ
10-20 นาที ประคบได้ทุก 2-3 ชั่วโมง
C = Compression คือ ประคับประคองอวัยวะส่วนนั้น โดยใช้ผ้ายืดพันไว้ให้แน่นกระชับเพื่อ
ป้องกันอาการบวมและท าให้ข้ออยู่นิ่ง
E = Elevate คือ การยกข้อส่วนที่เคล็ดหรือแพลงให้สูงขึ้น เพื่อลดบวม และการคั่งของเลือด
และให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น
31