Page 34 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 34

Hand breath เป็นการประมาณขนาดแผลไหม้โดยค านวณจากขนาดฝ่ามือผู้บาดเจ็บโดยนิ้ว
               เรียงชิดกัน ฝ่ามือ เท่ากับ 1% ของพื้นผิวร่างกาย

                             3)   อายุ แผลไหม้ที่เกิดในผู้สูงอายุหรือเด็กเล็ก อัตราการตายจะสูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงอายุที่น้อย
               กว่า 2 ปี และมากกว่า 60 ปี
                             4) ส่วนของร่างกายที่ถูกไหม้ ความรุนแรงของแผลไหม้บริเวณใบหน้า คอ เสี่ยงต่อ Smoke

               inhalation injury แผลไหม้บริเวณมือและเท้า อาจสูญเสียนิ้วมือ หรือมีความพิการ
                             5)   การบาดเจ็บร่วม กระดูกหัก ข้อเคลื่อนหรือสูดควันจ านวนมากเข้าไป จะท าให้ความรุนแรง
               เพิ่มมากขึ้น
                             6)   การเจ็บป่วยเดิม ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคไต โรคปอด ฯลฯ ท าให้อาการของแผลไหม้

               รุนแรงเพิ่มมากขึ้น
                             7)   ประเภทของแผลไหม้ เช่น แผลไฟไหม้ น้ าร้อนลวก แผลส่วนใหญ่จะไม่ลึกต่างกับแผลไหม้
               จากไฟฟ้าแรงสูงบาดแผลจะลึกและมีการท าลายของเนื้อเยื่อมาก
                         4.1.2 การแบ่งกลุ่มความรุนแรงแผลไหม้  พิจารณาจากความลึก ความกว้างของแผลแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

               การพิจารณาความรุนแรงของแผลไหม้ พิจารณาขนาดของแผลไหม้ และความลึกของแผล หากกว้างมากหรือ
               ลึกมากก็รุนแรงมาก (American Burn Association's Classification ใน Newbery, 2003)

                          ความรุนแรง                            ลักษณะ

                         น้อย           แผลไหม้ระดับ  1
                         (Minor         แผลไหม้ระดับ 2  ที่มีพื้นที่น้อยกว่า 15% ในผู้ใหญ่
                         burns)         แผลไหม้ระดับ 2  ที่มีพื้นที่น้อยกว่า 10% ในเด็ก
                                        แผลไหม้ระดับ 3  ที่มีพื้นที่น้อยกว่า 2% ของพื้นผิวร่างกาย

                                        (อวัยวะส าคัญ เช่นมือ หน้า เท้า อวัยวะสืบพันธุ์ไม่ได้รับอันตราย)
                         ปานกลาง        แผลไหม้ระดับ 2   ที่มีพื้นที่  15-25% ในผู้ใหญ่
                         (Moderat       แผลไหม้ระดับ 2   ที่มีพื้นที่  10-20% ในเด็ก
                         e burns)       แผลไหม้ระดับ 3   ที่มีพื้นที่  2-10% ของพื้นผิวร่างกาย

                                        (อวัยวะส าคัญ เช่นมือ หน้า เท้า อวัยวะสืบพันธุ์ไม่ได้รับอันตราย)
                          ความรุนแรง                            ลักษณะ
                        มาก             แผลไหม้ระดับ 2   ที่มีพื้นที่มากกว่า 25 %ในผู้ใหญ่

                        (Major burns)  แผลไหม้ระดับ 2   ที่มีพื้นที่มากกว่า 20% ในเด็ก
                                        แผลไหม้ระดับ 3   ที่มีพื้นที่มากกว่า  10% ของพื้นผิวร่างกาย
                                        อวัยวะส าคัญ เช่นมือ หน้า เท้า  อวัยวะสืบพันธุ์ได้รับอันตราย


                      การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีแผลไหม้ระดับ 1
                      1)  แช่บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บในน้ าเย็นถ้าเป็นไปได้ หรือราดน้ าเย็นลงผิวหนังที่มีแผลไหม้ เป็นเวลา

                          อย่างน้อย 5-10 นาที เพื่อบรรเทาอาการปวด ถ้าบริเวณผิวหนังที่ได้รับบาดเจ็บสกปรก ควรท า
                          ความสะอาดด้วยการล้างสิ่งสกปรกออกอย่างเบามือด้วยน้ าและสบู่ก่อน
                      2)  อย่าใช้น้ าที่เย็นจัดหรือน้ าแข็งวางบนผิวหนังที่มีแผลไหม้เป็นเวลานานเกินไป



               34
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39