Page 38 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 38
- เครื่องช่วยหายใจชนิดบรรจุอากาศในตัว ประกอบด้วยถังอากาศอัดความดันมากกว่าความ
ดันบรรยากาศและหน้ากากชนิดเต็มหน้า
- ถุงมือชั้นในชนิดทนสารเคมี (Inner chemical-resistant gloves)
- รองเท้าบู๊ทชนิดทนสารเคมี (Chemical-resistant safety boots)
- หมวกแข็ง (Hard hat)
- วิทยุสื่อสารที่รับและส่งได้ในตัว (Two-way radio communication)
ข้อบ่งใช้
- ทราบว่าสารพิษเป็นอันตรายเมื่อสัมผัสผิวหนังในรูปของเหลวหรือเป็นไอ หรือแก๊สที่เป็น
พิษต่อทางเดินหายใจ
- ปฏิบัติงานในบริเวณที่มีออกซิเจนน้อย
3) ชุดป้องกันระดับ C (level C protection) ใช้เมื่อทราบว่าสารพิษมีอันตรายต่อทางเดิน
หายใจ ประกอบด้วย
- ชุดผ้าทนสารพิษแบบคลุมทั้งตัวไร้รอยต่อ (Support function protective garment)
- หน้ากากป้องกันเต็มหน้าชนิดมีไส้กรองอากาศ (Full-facepiece air purifying canister
equipped respirator)
- ถุงมือทนสารเคมี (Chemical-resistant gloves)
- รองเท้าทนสารเคมี (Chemical-resistant safety boots)
- หมวกแข็ง (Hard hat)
- วิทยุสื่อสารที่รับและส่งได้ในตัว (Two-way radio communication)
ข้อบ่งใช้
- ทราบชนิดสารพิษเป็นอันตราย เมื่อสัมผัสทางการหายใจ ป้องกันได้ด้วย Air purifying
respiratory protective device)
- ปฏิบัติงานในที่ที่มีออกซิเจนเพียงพอ
4) ชุดป้องกันระดับ D (Level D protection) ใช้ใส่ท างานทั่วไป หลังจากผู้ประสบภัย
ได้รับการล้างสารพิษและควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว ประกอบด้วย
- ชุดหมี (Coveralls)
- รองเท้าบู๊ท (Safety boots/shoes)
- แว่นตาหรือที่ครอบตากันการกระเซ็น (Safety glasses or chemical splash goggles)
5.4 หลักการปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่ได้รับสารพิษ
หลักการปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่ได้รับสารพิษที่ส าคัญที่สุด คือ การลดปริมาณสารพิษที่สัมผัส
หรือเข้าสู่ร่างกายให้มากที่สุด ภายหลังการน าผู้ประสบภัยออกจากบริเวณที่มีสารพิษเจือปนและดูแลเรื่อง
ทางเดินหายใจ การหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิตแล้ว ซึ่งท าได้โดย
5.4.1 ท าให้พิษเจือจางหรือลดปริมาณสารพิษที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย (Decontamination)
มีวิธีการหลายอย่าง เช่น การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยออกจากบริเวณที่เกิดเหตุของสารพิษที่เป็นไอหรือก๊าซพิษ
การช าระล้างด้วยน้ า ท าให้อาเจียน ล้างท้องและให้สารที่ช่วยท าให้พิษเจือจาง เป็นต้น
38