Page 36 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 36

5. การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่ได้รับสารพิษ

               (First aid for toxic substance contamination)


                   สารพิษ คือ สารใดๆที่สัมผัสหรือเข้าสู่ร่างกายแล้วเกิดปฏิกิริยาทั้งทางเคมีและชีวภาพ เป็นอันตรายต่อ

               โครงสร้างและการท าหน้าที่ของร่างกาย สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางปาก ตา ผิวหนังและการหายใจ

                   5.1 ข้อสังเกตในการพิจารณาว่าสารพิษเข้าสู่ร่างกาย

                      5.1.1 เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นอย่างรวดเร็วและกะทันหัน ในขณะที่ร่างกายแข็งแรง เช่น คลื่นไส้
               อาเจียน ชัก หมดสติ
                      5.1.2. อาการผิดปกติภายหลังได้รับสารพิษเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียภายหลังรับประทานอาหารเป็นต้น
                          5.1.3. อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับคนจ านวนมากๆ และเกิดอาการเจ็บป่วยแบบเดียวกันแต่เมื่อได้รับ

               การรักษาแล้วอาการจะดีขึ้น

                   5.2 สิ่งที่ต้องประเมินก่อนให้การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่ได้รับสารพิษ

                         เนื่องจากสารพิษแต่ละชนิด ต้องให้ยาต้านสารพิษ ท าการล้างท้อง หรือท าให้อาเจียน แตกต่างกันในแต่
               ละราย หรือแต่ละสาเหตุ ซึ่งหากไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการได้รับสารพิษของผู้ประสบภัย อาจท าให้ได้รับ
               การแก้ไขที่ไม่ถูกต้อง มีความล่าช้าในการรักษา หรือถึงแก่ชีวิตโดยไม่สมควร ปัจจัยส าคัญในการที่จะช่วยเหลือ

               ผู้ป่วยได้ ก็คือการปฐมพยาบาลที่จุดเกิดเหตุและระหว่างน าส่งโรงพยาบาล ดังนั้นก่อนให้การปฐมพยาบาล
               จะต้องประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น โดยค านึงถึงสิ่งต่อไปนี้ร่วมด้วย   ได้แก่
                        5.2.1. ปริมาณของสารพิษที่ได้รับ ผู้ที่ได้รับสารพิษในปริมาณมากย่อมได้รับอันตรายมากกว่าผู้ที่ได้รับ
               สารพิษในปริมาณน้อย อย่างไรก็ตามผู้ได้รับสารพิษแต่ละชนิดอาจมีอาการแสดงของการได้รับสารพิษแตกต่าง
               กันแม้ว่าจะได้รับในปริมาณเท่ากัน

                        5.2.2. ระยะเวลาที่ได้รับสารพิษ ถ้าได้รับสารพิษเข้าไปเกิน 4 ชั่วโมง การช่วยเหลือจะได้ผลน้อย
               เพราะสารพิษจะผ่านกระเพาะอาหารลงไปสู่ล าไส้แล้ว การท าให้อาเจียนหรือล้างท้องจึงไม่มีประโยชน์  ในการ
               ท าการล้างท้องสามารถท าได้ภายใน 60 นาทีหลังจากผู้ป่วยทานยาเกินขนาด โดยช่วงเวลาที่มีประสิทธิภาพใน

               การท าการล้างท้องผู้ป่วยจะอยู่ประมาณ 5-30 นาทีหลังจากผู้ป่วยทานยาเกินขนาด ห้ามท าการล้างท้องใน
               ผู้ป่วยที่ทานกรด ด่างหรือสารในกลุ่ม hydrocarbon หากได้รับสารพิษที่เป็นสารเคมีนาน 36 ชั่วโมงแล้วไม่
               ปรากฏอาการเป็นพิษ สันนิษฐานว่าน่าจะปลอดภัยจากสารพิษนั้นๆ
                       5.2.3. ชนิดของสารพิษที่ได้รับ สารพิษอาจเป็นทั้งสารเคมี สารชีวภาพ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของ

               ของเหลว ก๊าซ ละอองไอ ฝุ่นผง ฯลฯ

                     5.3 การด าเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ได้รับสารพิษนี มีแนวปฏิบัติที่ส าคัญ คือ

                         5.3.1 การด าเนินการก่อนให้การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่ได้รับสารพิษ ณ จุดที่เกิดเหตุ
                                 เมื่อไปถึงจุดเกิดเหตุ หลังการรายงานตัวต่อผู้บัญชาการเหตุการณ์ ประสานงานกับทีมกู้ภัย
               (HAZMAT team) รับทราบแผนการปฏิบัติแล้วต้องมีการก าหนดพื้นที่แบ่งระดับความปลอดภัยต่อสารพิษซึ่ง
               โดยทั่วไปแบ่งเป็น






               36
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41