Page 35 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 35

3)  ดูแลให้ผิวหนังบริเวณที่เกิดแผลไหม้ได้รับการปิดด้วยผ้าพันแผลปราศจากเชื้อหรือผ้าสะอาดและ
                          ยกให้สูงเหนือระดับหัวใจและท าแผลถ้าจ าเป็น

                      4)  อย่าใช้ขี้ผึ้ง วาสลีน ทาลงบนผิวหนังบริเวณที่เกิดแผลไหม้
                      5)  หลีกเลี่ยงการใช้สเปรย์หรือครีมที่ท าให้เกิดอาการชา เพราะจะมีผลให้แผลหายช้าอาจท าให้เกิด
                          อาการแพ้ในบางรายได้

                      6)  รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดได้
                      7)  ไปพบแพทย์ ถ้ามีสัญญาณบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ ได้แก่ มีไข้ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป หนาวสั่น แผล
                          แดงมากขึ้น บวม หรือมีหนอง หรือยังมีอาการปวดแผลอยู่


                   การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีแผลไหม้ระดับ 2
                        1)   ไม่ควรถอดเสื้อผ้าออก ถ้าไม่สามารถกระท าได้โดยง่าย
                        2)   ใช้ผ้าสะอาดประคบเย็นบนผิวหนังที่เกิดแผลไหม้ ท าได้ถึงประมาณ 1 ชั่วโมง ไม่ถูหรือเช็ดแรงๆ

                      3)  หากพบว่ามีถุงน้ าพองใส (Blister) อย่าพยายามท าให้ถุงน้ าพองใสแตก เพราะอาจท าให้เกิดการติดเชื้อ
                      4)  หลีกเลี่ยงการใช้สเปรย์ฆ่าเชื้อ ขี้ผึ้ง หรือครีมทาลงบนผิวหนังที่เกิดแผลไหม้
                      5)  แต่งแผลด้วยการปิดด้วยผ้าก๊อซชั้นเดียว ชนิดที่ไม่ติดผิวหนังแล้วปิดด้วยผ้าพันแผลอย่าง
                         ระมัดระวัง

                      6)  ยกบริเวณที่เกิดแผลไหม้ให้สูงกว่าระดับหัวใจ ถ้าเป็นไปได้
                      7)  ไปพบแพทย์ ถ้ามีสัญญาณบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ ได้แก่ ไข้ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป หนาวสั่น แผล
                         แดงมากขึ้น บวม หรือมีหนอง หรือถ้าแผลไหม้ไม่ดีขึ้นเลยหลังผ่านไป 2 วัน


                      การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีแผลไหม้ระดับ 3
                      1)  พาผู้ประสบภัยให้หลุดพ้นจากสาเหตุ หรือสถานที่เกิดเหตุ เช่น ปิดสะพานไฟ หรือใช้ผ้านวมคลุม
                          ตัวน าผู้ประสบภัยออกจากไฟ

                      2)  ประเมินการหายใจ การเต้นของหัวใจ และอาการช็อก เพื่อให้การช่วยเหลือก่อน
                      3)  ถอดเสื้อผ้าส่วนที่ไม่ติดกับแผลไหม้ อาจต้องใช้วิธีตัดออก พยายามอย่าดึงเพราะจะเพิ่มการท าลาย
                          ของแผลไหม้

                      4)  ถ้าแผลไหม้เป็นที่แขน ขา ยกส่วนนั้นให้สูงกว่าระดับหัวใจ ถ้ามีแผลไหม้ที่ใบหน้า ให้ผู้ประสบภัย
                          อยู่ในท่านั่ง
                      5)  ปิดแผลไหม้ด้วยผ้าสะอาดหรือท าแผลด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ
                      6)  อย่าทาขี้ผึ้ง ครีม หรือยาฆ่าเชื้อใดๆ ลงบนแผลไหม้
                      7)  ช่วยให้ผู้ประสบภัยพักผ่อนอย่างสงบ

                      8)  อย่าให้ผู้ประสบภัยรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มใดๆ
                      9)  รีบส่งต่อโรงพยาบาลโดยเร็ว




                                    บาดเจ็บจากแผลไฟไหม้





                                                                                                       35
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40