Page 18 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 18

6. องค์ประกอบของระบบการจ าแนกผู้ประสบภัย (Component of triage system)
                     6.1 บุคลากร ( Personnel )  ผู้ที่จ าแนกควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ มีทักษะในการตรวจร่างกาย มีมนุษย

               สัมพันธ์ดี สามารถคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
                         6.1.1 คุณสมบัติของพยาบาลผู้ท าหน้าที่จ าแนกประเภทบาดเจ็บ ในสหรัฐอเมริกาได้มีการศึกษา
               การใช้บุคลากรที่เหมาะสมในการจ าแนกประเภทผู้ป่วยพบว่าผู้ที่เหมาะสมที่สุดที่จะท าหน้าที่คือพยาบาล ด้วย
               เหตุผลดังต่อไปนี้

                                  -  มีความสามารถและทักษะในการประเมินสภาพผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วโดยการ
               สัมภาษณ์และการตรวจร่างกายเบื้องต้น
                                  -  มีความรู้และความเข้าใจในปัญหาของผู้ป่วย รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่สังเกตได้
               น ามาประเมินและวางแผนการรักษาพยาบาล

                                  -  มีความรู้เรื่องโรคและสามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันทีในภาวะฉุกเฉิน
                                  -  มีความรู้และทักษะในการให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภาวะฉุกเฉินได้ดี
                                  -  มีความสามารถในการบันทึกข้อมูลให้กะทัดรัด ได้ใจความ
                                  -  มีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งบุคลากรอื่น ๆ

               ตลอดจนมีทักษะในการสื่อสารและประสานงาน
                                  -  เป็นผู้มีความอดทน มีสติ มีจิตใจสงบและมีความมั่นคงทางอารมณ์สามารถเผชิญหน้า
                                  -  ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างดีและรวดเร็ว แม้อยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด

                     6.2  สถานที่ในการจ าแนกผู้ประสบภัย (Triage area) การจ าแนกผู้ประสบภัยจะกระท าทั้งในบริเวณที่
               เกิดภัย (Disaster site) และที่สถานพยาบาลซึ่งนิยมก าหนดให้อยู่ใกล้ทางเข้าหรืออยู่ที่บริเวณห้องฉุกเฉิน
                         สถานที่หรือสถานีเพื่อการจ าแนกประเภทของผู้ประสบภัยและให้การปฐมพยาบาลก่อนน าส่ง
               สถานพยาบาล ควรจะต้องอยู่ในบริเวณใกล้สถานที่ที่เกิดสาธารณภัยให้มากที่สุดและต้องปลอดภัยที่สุดด้วย
               เช่นกัน สิ่งส าคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ควรเลือกสถานที่ที่มีความกว้างเพียงพอส าหรับการรับผู้ประสบภัย มีแสง

               สว่างเพียงพอ มีการถ่ายเทอากาศที่ดี และสามารถแบ่งพื้นที่การปฏิบัติงานออกเป็นส่วนๆ ได้อย่างเหมาะสม เช่น
                              -  บริเวณส าหรับการเป็นศูนย์บัญชาการ
                              -  บริเวณส าหรับการติดต่อสื่อสารและประสานงานกับสื่อมวลชนและญาติ

                              -  บริเวณส าหรับการประเมินและติดป้ายสัญลักษณ์แยกประเภทผู้ประสบภัย
                              -  บริเวณส าหรับให้การปฐมพยาบาล บริเวณส าหรับให้การรักษาพยาบาลก่อนเคลื่อนย้าย
                              -  บริเวณส าหรับการกู้ชีพขั้นต้น บริเวณส าหรับเก็บศพผู้เสียชีวิต
                              -  บริเวณที่พักส าหรับญาติและผู้ประสบภัยที่มีอาการเล็กน้อยรอกลับบ้าน

                              -  บริเวณส าหรับจอดรถพยาบาล (Ambulances) และอุปกรณ์ต่าง ๆ ฯลฯ
                         นอกจากนี้ควรจัดระเบียบทางเข้า – ออกให้ลื่นไหลสะดวกและไม่ให้สวนทางกัน (One way) และ
               ควรจัดการให้ผู้ประสบภัยที่ได้รับการจ าแนก ปฐมพยาบาลหรือช่วยชีวิตขั้นต้น (CPR) แล้วถูกเคลื่อนย้ายออก
               ไปสู่สถานพยาบาลได้อย่างสะดวกอีกทั้งหากสามารถท าได้ควรจัดบริเวณส าหรับการช าระล้าง

               (Decontamination area) เพื่อช าระล้างและท าความสะอาดคราบสกปรก ฝุ่นโคลน สารเคมี หรือสารพิษไว้
               เป็นด่านแรกด้วย





               18
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23