Page 12 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 12
5. การจ าแนกผู้ป่วยในโรงพยาบาล (In hospital triage)
ห้องฉุกเฉินเป็นสถานบริการด้านสุขภาพที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง จึงมีผู้ป่วยทั้งที่เป็นกรณีฉุกเฉิน
และไม่ฉุกเฉินเป็นจ านวนมากมารับบริการ และท าให้ผู้ป่วยที่ฉุกเฉินจริง ๆ ได้รับความช่วยเหลือช้าลง ด้วยเหตุ
ดังกล่าวจึงมีการพัฒนาระบบจ าแนกผู้ป่วยขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการฉุกเฉินและรีบด่วนถูกส่งไปรับการ
ตรวจและการรักษาพยาบาลได้โดยเร็ว ส่วนผู้ป่วยที่ไม่ฉุกเฉินถูกส่งไปรับบริการที่แผนกตรวจโรคทั่วไป หรือ
คลินิกเฉพาะโรค Triage ในหน่วยฉุกเฉินเป็นขบวนการประเมินสภาพของผู้ป่วยอย่างรวดเร็วเพื่อตัดสินความ
รีบด่วนของอาการส าคัญที่เป็นปัญหา ท าให้ผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลได้รับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสม
5.1 เป้าหมายของการจ าแนกที่หน่วยฉุกเฉิน (Goal of triage in emergency unit)
5.1.1 สามารถคัดแยกผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มตามระดับความรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว
5.1.2 สามารถคบคุมการหมุนเวียนของผู้ป่วยในหน่วยฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3 สามารถให้ค าแนะน าและสื่อสารแก่ผู้มารับบริการและผู้ให้บริการทางการแพทย์อื่นๆให้เข้าใจตรงกันได้
5.2 ระบบการจ าแนกผู้ป่วยในหน่วยฉุกเฉิน (System of triage)
ระบบการจ าแนกประเภทผู้ป่วยในหน่วยฉุกเฉินของแต่ละประเทศ แต่ละโรงพยาบาลจะมีความ
แตกต่างกัน มีการพัฒนามาจากหลายระบบ การจะเลือกใช้ระบบใดจึงจะเหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของ
โรงพยาบาลแต่ละแห่ง ขนาดของโรงพยาบาล ชุมชนที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่ จ านวนผู้ป่วยที่มาใช้บริการ
งบประมาณและจ านวนบุคลากรของโรงพยาบาล เครื่องบินตก น้ าท่วม โคลนถล่ม ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลจะมี
นโยบายในการบริหารจัดการแตกต่างกัน เช่น การประกาศแผนฉุกเฉิน การจัดก าลังคนในจุดต่างๆ เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย โดยทั่วไปผู้ที่ท าหน้าที่ในการคัดกรองผู้ป่วยจะเป็นพยาบาลที่ท างานในห้อง
ฉุกเฉินซึ่งมีความรู้ความสามารถและได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี โดยทั่วไประบบการจ าแนกประเภทผู้ป่วยแบ่ง
ออกได้หลายรูปแบบดังนี้
5.2.1 The American Hospital Association ได้จ าแนกประเภทผู้ป่วยที่มารับบริการจากแผนก
ฉุกเฉินออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
- ภาวะฉุกเฉิน (Emergent) เป็นภาวะที่คุกคามต่อชีวิตต้องได้รับการช่วยเหลือทันที
ความล่าช้าจะท าให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความพิการ ภาวะเหล่านี้ได้แก่ หัวใจหยุด การอุดตันของทางเดิน
หายใจ ช็อก ภาวะเลือดออกมาก บาดเจ็บรุนแรงหลายแห่ง
- ภาวะรีบด่วน (Urgent) เป็นภาวะที่ต้องได้รับการช่วยเหลือโดยเร็ว รอได้บ้างในระยะ
เวลาไม่กี่ชั่วโมง เช่น อาการปวดรุนแรงของอวัยวะต่าง ๆ ท้องร่วงรุนแรง กระดูกหัก การบาดเจ็บ
- ภาวะไม่รีบด่วน (Non urgent) เจ็บป่วยเล็กน้อยไม่ฉุกเฉิน ไม่มีความจ าเป็นต้องใช้
บริการของแผนกฉุกเฉิน เช่น ไข้หวัด เจ็บคอ ปวดหลัง ตกขาว ริดสีดวงทวาร
5.2.2 The Australian Institute of Health and Welfare (AIHW) ได้จ าแนกประเภทผู้ป่วยที่มา
รับบริการจากหน่วยฉุกเฉิน ออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 ถึง 5 ดังต่อไปนี้
- ระดับที่ 1 Resuscitation/immediate : within seconds
- ระดับที่ 2 Emergency : within 10 minutes
- ระดับที่ 3 Urgent : within 30 minutes
- ระดับที่ 4 Semi-urgent : within 60 minutes
- ระดับที่ 5 Non-urgent : within 120 minutes
12