Page 45 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 45
การปฐมพยาบาล
1) ถ้าหัวใจหยุดเต้นให้ช่วยกู้ชีวิต การให้สารน้ าให้เพียงพอ หากเกิดจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงต้องใส่
อุปกรณ์พยุงคอและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบท่อนไม้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของไขสันหลัง จะเอาอุปกรณ์พยุงคอ
ออกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามปกติเมื่อวินิจฉัยว่าไม่มีกระดูกสันหลังหักและไม่มีการบาดเจ็บของไขสันหลัง
2) ประเมินการบาดเจ็บร่วมและความผิดปกติของระบบประสาท
3) ยกแขนขาส่วนที่ไหม้ให้สูงกว่าหัวใจ โดยใช้หมอนรอง
การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่จมน า
การจมน้ าจืดจะท าให้น้ าซึมเข้าสู่กระแสเลือด เกิดภาวะ hemodilution และ volume overload
ส่วนน้ าเค็มจะดึงน้ าเข้ามาในถุงลม เกิดภาวะปอดบวมน้ า อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายไม่มีพยาธิสภาพดังกล่าว
แต่กลับพบว่าเกิด shunt ขึ้นในปอดและตามมาด้วยภาวะ acute respiratory distress syndrome (ARDS)
ปัจจัยที่ท าให้ผู้ป่วยทรุดลงและการแก้ไข
1) การขาดออกซิเจน (Hypoxia) หลังจากก าจัดสิ่งกีดขวางการหายใจแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับออกซิเจน
ทุกราย ถ้าหายใจไม่ดี หยุดหายใจ หรือเมื่อให้ออกซิเจนในความเข้มข้นสูงแล้วระดับออกซิเจนใน
เลือดยังต่ า ให้รีบส่งต่อแพทย์เพื่อช่วยใส่ท่อช่วยหายใจ
2) การส าลักน้ า (Aspiration) ผู้ป่วยที่พิสูจน์พบว่ามีการจมและส าลักน้ าทุกรายควรรีบส่งต่อไปรักษา
ในโรงพยาบาล
3) ภาวะอุณหภูมิกายต่ า (Hypothermia) รีบถอดเสื้อผ้าเปียกออกจากร่างกาย คลุมผู้ป่วยด้วยผ้าห่มอุ่น
บาดเจ็บจากสารพิษ
45