Page 54 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 54
1.5 การอุ้มทาบหลัง (Pack-Strap Carry)
ใช้ส าหรับผู้ประสบภัยที่ไม่รู้สึกตัวหรือรู้สึกตัวแต่ไม่สามารถลุกเดินได้ และต้องเคลื่อนย้ายผ่านทาง
ที่แคบในระยะทางไกล (ถ้าผู้ประสบภัยรู้สึกตัว ควรจัดให้อยู่ในท่านั่งบนเตียงก่อน)
วิธีการปฏิบัติกรณีผู้ประสบภัยไม่รู้สึกตัว
1. ท าบ่วงคล้องรอบอกของผู้ประสบภัยให้กว้างพอประมาณ
2. นอนหงายทาบไปบนตัวของผู้ประสบภัยและทับบนบ่วงนั้น
3. สอดแขนทั้งสองข้างเข้าไปในบ่วงที่เหลือจากการนอนทับไว้ ขยับ
บ่วงให้กระชับอยู่บนไหล่ (เหมือนสอดแขนสะพายเป้)
4. ผู้ช่วยเหลือใช้มือข้างซ้ายจับต้นแขนขวาของผู้ประสบภัย และใช้มือ
ขวาสอดเข้าใต้เข่าของผู้ประสบภัย ตั้งขาของผู้ประสบภัยขึ้นไว้
5. พลิกคว่ าตัวลงไปทางซ้ายให้มากที่สุด ให้ผู้ประสบภัยทับอยู่
ด้านบน
6. ลุกขึ้นในท่าก้มโค้ง ขยับท่าให้ถนัด แล้วก้าวเดินโดยก้มตัวเล็กน้อย
วิธีการปฏิบัติกรณีผู้ประสบภัยรู้สึกตัวดี
1. ผู้ช่วยเหลือย่อตัว ชันเข่าให้ถนัด หันหลังให้ผู้ประสบภัย
2. ให้ผู้ประสบภัยโอบรอบไหล่ของผู้ช่วยเหลือไว้
3. ผู้ช่วยเหลือจับข้อมือของผู้ประสบภัยไว้ ให้ถนัด โดยไขว้มือจับ
4. ค่อย ๆ ยืนขึ้น จัดท่าให้กระชับ แล้วก้าวเดินไปสู่ที่หมาย
1.6 การอุ้มกอดด้านหลัง (อุ้มขี่หลัง) (Saddle-Back Carry)
ใช้ส าหรับผู้ประสบภัยที่มีขนาดตัวเล็กกว่าผู้ช่วยเหลือ รู้สึกตัวดีแต่ไม่สามารถลุกเดินได้ เช่น บาดเจ็บที่ข้อ
เท้า ฝ่าเท้า เป็นต้น และต้องเคลื่อนย้ายผ่านทางแคบ ๆ
วิธีการปฏิบัติ
1. ผู้ช่วยเหลือนั่งย่อเข่าชันขาข้างที่ถนัด หันหลังให้ผู้ประสบภัย
2. ให้ผู้ประสบภัยโอบแขนรอบคอของผู้ช่วยเหลือและเกี่ยวข้อมือตนเองไว้
3. ผู้ช่วยเหลืออ้อมแขนทั้ง 2 ข้าง ไปทางด้านหลังของต้นขา และลอดผ่าน
ข้อพับ เข่าของผู้ประสบภัย
4. ผู้ช่วยเหลือเกี่ยวมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุด
5. ลุกขึ้นยืน ขยับมือให้จับกันกระชับและมั่นคง ก้าวเดินไปสู่ที่หมาย
54