Page 42 - ผู้หญิงก้าวเดิน : มูลนิธิรักษ์ไทย
P. 42

03           ท�ำไมต้องช่วย



              แรงงำนข้ำมชำติ







           คำาถามหนึ่งซึ่งฝ่ายบริหารของมูลนิธิรักษ์ไทยมักถูกตั้งข้อสงสัยอยู่เสมอก็คือ
           “จะต้องไปท�างานช่วยแรงงานพม่าท�าไม เขาเคยปล้นทองเราสมัยอยุธยานะ”



           มันเป็นคำาถามที่แสดงให้เห็นถึงมายาคติของคนทั่วไปที่มีต่อคนจากประเทศ
           เพื่อนบ้าน  มายาคติที่ถูกสร้างผ่านเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ชาติไทยเพื่อคำ้ายันอุดมการณ์
           ชาตินิยม จนต้องหาศัตรูร่วมของ  “ชาติ” ขึ้นมาเพื่อความสมัครสมานกลมเกลียว

           ของคนไทย  โดยละเลยต่อมุมมองด้านมนุษยธรรมของผู้ที่ประสบภาวะยากลำาบาก
           ตรงหน้า


           พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย กล่าวว่า “ในฐานะที่เป็นองค์กร

           พัฒนามืออาชีพ  มีความจ�าเป็นที่เราจะต้องท�างานอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้าง
           ความเปลี่ยนแปลง และในส่วนงานหลักขององค์กรที่ท�าหลายด้านหลายมิติ จึงมี
           ความจ�าเป็นที่จะต้องช่วยคนที่เขาช่วยตัวเองไม่ได้ และแรงงานข้ามชาติก็เป็น
           คนกลุ่มนั้น กลุ่มคนที่องค์กรอื่นไม่ท�างานด้วย เราจึงต้องกล้าท�าในสิ่งที่เป็นพื้นฐาน

           ส่วนนี้ นั่นคือเรื่องสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ดังที่ด�าเนินงานมากว่า 20 ปี”


           ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือโครงการฟ้ามิตร ซึ่งมีชื่อเต็มว่า “โครงการส่งเสริมการป้องกัน
           เอดส์ในแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย” ดำาเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2547-2557

           ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนโลกด้านเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย ที่มูลนิธิรักษ์ไทย
           เป็นผู้รับทุนหลัก ในการทำางานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนอีก 8 องค์กร
           แบ่งความรับผิดชอบกันไปตามพื้นที่  ซึ่งมีกลไกประเมินผลและการติดตามการทำางาน
           จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม  มหาวิทยาลัยมหิดล  ผลงานหลายอย่าง

           ยังคงส่งผลจนถึงทุกวันนี้

        40  ผู้หญิงก้าวเดิน
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47