Page 37 - ผู้หญิงก้าวเดิน : มูลนิธิรักษ์ไทย
P. 37
มาหัดอ่าน เปิดแผ่นซีดีคาราโอเกะเพื่อฝึกภาษา เวลาออกไปข้างนอก ก็อ่านป้ายบอกทาง
ป้ายร้านค้าที่มีภาษาอังกฤษกำากับ
นอกเหนือจากงานในความรับผิดชอบที่รักษ์ไทย พลอยยังรับหน้าที่เป็นล่ามให้แก่
หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติด้วยกัน
อาจจะเรียกได้ว่าเป็นโชคดีของพลอยที่ได้มาทำางานที่นี่จึงไม่ต้องไปใช้แรงงาน
แบบเพื่อนแรงงานข้ามชาติคนอื่น เป็นงานที่ดีซึ่งตรงกับคำาที่คนมอญกล่าวไว้ว่า
“เกาะกุโส้เปองเล้ป่วน” หมายความว่า “งานที่ได้บุญและได้อิ่มท้องด้วย”
แม้ในอดีตพลอยจะลักลอบเดินทางเข้าเมืองไทย แต่ปัจจุบันพลอยมีสถานะเป็น
แรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองโดยถูกกฎหมายแล้ว หลังจากกลับไปดำาเนินการเรื่อง
เอกสารต่าง ๆ ให้ถูกต้องเมื่อหลายปีก่อน
คุณภำพชีวิต-สิทธิแรงงำนข้ำมชำติ
แรงงานข้ามชาติในปัตตานีทุกภาคส่วนมีประมาณ 20,000 คน ซึ่งมีทั้งสัญชาติ
เมียนมา กัมพูชา และลาว ส่วนใหญ่เป็นแรงงานถูกกฎหมาย กระนั้นพวกเขา/เธอ
1
ก็ยังเผชิญกับปัญหาเรื่องสุขภาพ คุณภาพชีวิต และสิทธิอันพึงมีพึงได้ อย่างไม่อาจ
หลีกเลี่ยง ทั้งด้วยการขาดโอกาสในการเข้าถึง และจากทัศนคติของตนเองที่ไม่เห็นว่า
สิ่งที่ประสบนั้นไม่ใช่สิ่งที่ควรยอมรับ
ความจริงสิ่งที่แรงงานข้ามชาติในปัตตานีเผชิญ ก็เป็นเช่นเดียวกับแรงงานข้ามชาติ
ในพื้นที่อื่นทั่วประเทศไทยได้พบเจอ และสิ่งนี้ดำาเนินมาเนิ่นนานนับทศวรรษ ตั้งแต่
เริ่มมีการใช้แรงงานข้ามชาติเข้ามาเป็นพลังส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
1 ข้อมูลสำานักบริหารแรงงานต่างด้าว เมื่อ 25 มิถุนายน 2564 ระบุว่า แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำางาน
ในราชอาณาจักร ทั้งแรงงานฝีมือและแรงงานทั่วไป มีจำานวน 2,380,767 คน ในจำานวนนี้เป็นแรงงานทั่วไป 2,162,863 คน
(ที่มา https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/945ef7c31755e7e937ecd5da4a1d24d7.pdf)
ผู้หญิงก้าวเดิน 35