Page 54 - วารสารการเกษตรราชภัฏ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2566
P. 54

การเกษตรราชภัฏ                                                    RAJABHAT AGRIC. 22 (1) : 50-59 (2023)


                                  การใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกในการจ าแนกภาพ
                                           ไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางด า



                      The Use of Deep Learning Technique in the Classification of

                                Pradu Hang Dam Thai Native Chicken Images


                                                                                      1
                                  สุจิตรา ทิพย์ศรีราช   สจี กัณหาเรียง  และ สุรชัย สุวรรณลี
                                                   1*
                                                                   2
                                                                   2
                                                                                            1
                                              1*
                            Sujitra Thipsrirach , Sajee Kunhareang  and Surachai Suwanlee

                                                        บทคัดย่อ


                       ไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางด าเป็นพันธุ์ที่มีการเลี้ยงมากที่สุดในประเทศไทยและมีความหลากหลายทาง
               พันธุกรรมเป็นอย่างมาก ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์และความช านาญไม่สามารถแยกระหว่างพันธุ์แท้และลูกผสมได้
               อย่างถูกต้อง ในการทดลองนี้จึงได้น าเสนอการใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอน
               โวลูชันซึ่งเป็นเทคนิคในการจ าแนกภาพที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหานี้ ใช้ไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางด า
               พันธุ์แท้และลูกผสมระหว่างประดู่หางด ากับเหลืองหางขาวจ านวน 4 กลุ่ม ดังนี้ พันธุ์แท้เพศผู้ พันธุ์แท้เพศเมีย

               ลูกผสมเพศผู้ และลูกผสมเพศเมีย เก็บข้อมูลภาพกลุ่มละ 250 ภาพ รวมเป็น 1,000 ภาพ ทดสอบ
               สถาปัตยกรรม 4 แบบ คือ LeNet-5, AlexNet, CNN1 และ CNN2 ปรับขนาดภาพเป็น 224x224 พิกเซล
               โดยก าหนดรอบในการประมวลผลเป็น 10 และ 20 รอบ จากการทดลองพบว่า การใช้สถาปัตยกรรมแบบ

               LeNet-5 และฟังก์ชันกระตุ้นเรคติไฟด์ลินเนียนยูนิต ประมวลผล 20 รอบ มีความแม่นย าในการเรียนรู้ การ
               ตรวจสอบ และการทดสอบมากที่สุด แต่สถาปัตยกรรมแบบ CNN2 ประมวลผล 20 รอบ สามารถท านายผลได้
               ถูกต้องมากที่สุด คือ 96.67% จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการใช้สถาปัตยกรรมอย่างง่ายของโครงข่าย
               ประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันอย่าง CNN2 สามารถจ าแนกพันธุ์ไก่พื้นเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               ค าส าคัญ: การเรียนรู้เชิงลึก  โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน  การจ าแนก
                            ไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางด า

               Received: 2 April 2023; Accepted: 3 May 2023
               1  ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34190
               1  Department of Animal Science, Faculty of Agriculture, Ubon Ratchathani University, Ubon Ratchathani, 34190
               2  สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
               2  Department of Animal Science, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002.
               * Corresponding author: sujitra.th.59@ubu.ac.th
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59