Page 27 - คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus
P. 27

หมายเหตุ:

                  1) เป็นแผนที่สอดคล้องกับ ทิศทาง นโยบาย เป้าหมาย ในข้อ 1.1
                  2) ทรัพยากรในที่นี้ รวมถึง คน เงิน ของ
                    -  มีการวิเคราะห์ GAP ทั้ง 6 องค์ประกอบ

                    -  มีการก�าหนดยุทธศาสตร์ตาม SWOT analysis ที่ได้
                    -  มีแผนพัฒนาการด�าเนินงาน NCD Clinic Plus (ปิด GAP)
                  3)  แผนของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอ�าเภอ Contracting Unit for Primary Care (CUP)

                    คือ แผนการวางระบบการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ
            ให้ตอบสนองความต้องการ ความจ�าเป็นด้านสุขภาพของประชาชน และเชื่อมโยงกิจกรรมด�าเนินงาน
            ด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นองค์รวม ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก และมี

            ระบบการให้ค�าปรึกษาและส่งต่อ โดยการกระตุ้นให้หน่วยบริการปฐมภูมิ เกิดกระบวนการเรียนรู้
            ร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิ ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องในระดับอ�าเภอ และเครือข่าย

            บริการปฐมภูมิ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชน เพื่อให้เกิดการสร้างสุขภาพและการสร้าง
            ความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันหรือลดปัญหาที่ป้องกันได้ทั้งทางกาย จิต สังคม โดยประชาชน
            มีส่วนร่วมและน�าไปสู่การมีสุขภาพดี ชุมชนพึ่งตนเองได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

                  4) แผนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอ�าเภอ (พชอ.)
                    คือ แผนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน

            เกิดการบูรณาการเป้าหมาย ทิศทางและยุทธศาสตร์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และ
            ภาคประชาชนอย่างเป็นองค์รวม เพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งแก่ระบบสุขภาพอ�าเภอ เน้นการ
            มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมีพื้นที่เป็นฐานและประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีความเป็นเจ้าของและ

            ภาวะการน�าร่วมกัน มีการบูรณาการและประสานความร่วมมือ เพื่อให้ประชาชนและชุมชนสามารถ
            พึ่งตนเองได้ และไม่ทอดทิ้งกัน โดยมีเครือข่ายบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ และได้รับความไว้วางใจ
            จากประชาชน ในการน�าไปสู่การสร้างเสริมให้บุคคล ครอบครัว และชุมชน มีสุขภาวะ ทางกาย จิต

            และสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเกิดความยั่งยืนสืบไป
                  5)  แผนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชพ.)
                    คือ แผนการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่ ให้เป็นไป

            ในทิศทาง ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีการบูรณาการร่วมกัน
            ระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเป็นองค์รวม มุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วม

            ของทุกภาคส่วนในพื้นที่ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างการเป็นผู้น�าและเจ้าของร่วมกันในการ
            พัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่เป็น
            เป้าหมายสูงสุด ประชาชนมีส่วนร่วมและสามารถพึ่งตนเองได้ และที่ส�าคัญต้อง ปรับกลวิธีการด�าเนินงาน

            ให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของพื้นที่




                                                       คู่มือแนวทางการด�าเนินงาน N C D  Clinic Plus  20
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32