Page 13 - ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2563 - 2566
P. 13

บทน�ำ

          NCD



              ความเป็นมา
                     การพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อมีหลายกลไกหลายช่องทาง แต่หลักๆ

              จะประกอบด้วยการขับเคลื่อนการด�าเนินงาน NCD Clinic โดยยึดหลักการ Chronic Care Model, PMQA
              และอีกช่องทางคือ Service Plan NCD ส่วนกลไกการประเมินเชิงผลลัพธ์ ใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือก�ากับ
              ติดตามคุณภาพบริการการด�าเนินงานโรคไม่ติดต่อ ที่เรียกว่า ตัวชี้วัดเพื่อก�ากับติดตามคุณภาพบริการ
              การด�าเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อ ประกอบด้วย ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน ตัวชี้วัดโรคความดันโลหิตสูง

              ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน และ/หรือโรคความดันโลหิตสูง โดยรวมมีตัวชี้วัดดังกล่าว ประมาณ 35-38 ตัวชี้วัด
              ที่ถูกน�ามาใช้ประกอบการด�าเนินงานป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งในด้าน
              วิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขได้อย่างเหมาะสมต่อบริบทของพื้นที่ วางแผน
              การด�าเนินงานโครงการ/กิจกรรม หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ โดยข้อมูลทั้งหมดได้มาจากรายงาน Health Data

              Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุข
                     ส�าหรับรายละเอียดตัวชี้วัด (Template) เพื่อก�ากับติดตามคุณภาพบริการการด�าเนินงาน
              ด้านโรคไม่ติดต่อ ประกอบด้วย ชื่อตัวชี้วัด ค�านิยาม เกณฑ์เป้าหมาย ประชากรเป้าหมาย วิธีการจัดเก็บข้อมูล
              แหล่งข้อมูล (รายการข้อมูล) สูตรค�านวณตัวชี้วัด วิธีการประมวลผล เอกสารสนับสนุน ผู้ให้ข้อมูล

              ทางวิชาการ/ผู้ประสานงาน หน่วยงานประมวลผลและจัดเก็บข้อมูล(ระดับส่วนกลาง) ผู้รับผิดชอบการรายงาน
              ผลการด�าเนินงาน ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากรายงาน Health Data Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุข
              ในหัวข้อกลุ่มรายงานมาตรฐาน  และข้อมูลเพื่อตอบสนอง  Service  Plan  สาขาโรคไม่ติดต่อ
              (NCD DM,HT,CVD) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพบริการที่ได้มาตรฐานไปทิศทางเดียวกันกับข้อมูล

              ทางวิชาการที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีการพัฒนา ปรับเปลี่ยน ปรับแก้ ทบทวนรายละเอียดตัวชี้วัด
              ที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน และตอบสนองตามแผนงานนโยบายกระทรวง กรม กองและเครือข่าย
              ซึ่งบางตัวชี้วัดที่มีความส�าคัญ จะถูกน�าไปใช้ในการวัดความส�าเร็จของการด�าเนินงานโรคไม่ติดต่อ
              ในแต่ละระดับ  ได้แก่ ตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (ม.44),

              ตัวชี้วัดตรวจราชการ, ตัวชี้วัดตามค�ารับรองการปฏิบัติราชการ ระดับกรมควบคุมโรค, ระดับกองโรคไม่ติดต่อ,
              ระดับพื้นที่ รวมถึงวัดเชิงผลลัพธ์การด�าเนินงานใน NCD Clinic Plus และ Service Plan NCD (DM HT)
              แต่ละปีจะมีการปรับรายละเอียด ปรับเกณฑ์เป้าหมายของตัวชี้วัดหลักที่ส�าคัญ เพื่อบ่งบอกถึงคุณภาพ
              บริการด้านโรคไม่ติดต่อ และประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด



              ตัวชี้วัดเพื่อก�ากับติดตามคุณภาพบริการการด�าเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อ ประกอบด้วย
                     1. ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน
                     2. ตัวชี้วัดโรคความดันโลหิตสูง

                     3. ตัวชี้วัดโรคเบาหวานและหรือโรคความดันโลหิตสูง



                                                ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำ�กับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ  1  NCD
                                                                             พ.ศ.�2563-2566
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18