Page 16 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 16
จึงได้ระงับเช็คเล่มดังกล่าว
คดีมีปัญหาให้อัยการสูงสุดชี้ขาดว่า ผู้ต้องหามีความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการ
ใช้เงินตามเช็คนั้น ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ และห้ามธนาคาร
มิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริตหรือไม่
อัยการสูงสุดพิจารณาแล้ว เห็นว่า หากพิจารณารายการบัญชีเดินสะพัดจะเห็นได้ว่าเมื่อวันที่
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ ได้มีการเปิดบัญชีด้วยเงินจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท และมีการนำเช็คที่
ธนาคารออกให้ผู้ต้องหา จำนวน ๓ ฉบับ ไปขึ้นเงิน คือเช็คเลขที่ ๐๐๑๒๖๖๗๑ ไปขึ้นเงินจำนวน
๙,๓๕๑ บาท ซึ่งเป็นเงินฝากที่เหลือหลังจากหักค่าธรรมเนียมธนาคารแล้ว เช็คเลขที่ ๐๐๑๒๖๖๗๕
และเช็คเลขที่ ๐๐๑๒๖๖๗๖ (เช็คของกลางในคดีนี้) ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับคำให้การชั้น
สอบสวนของผู้ต้องหา จากข้อเท็จจริงแสดงว่าเงินจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท เป็นเงินที่ผู้กล่าวหา
มอบให้ผู้ต้องหาไปเปิดบัญชีกระแสรายวันเพียงเพื่อให้ผู้ต้องหามีเช็คและสามารถออกเช็คให้
ผู้กล่าวหาได้ และผู้กล่าวหานำเช็คไปเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวจนหมดสิ้นในวันรุ่งขึ้น จึงเป็นข้อเท็จจริง
ที่ผู้กล่าวหาทราบดีว่าขณะออกเช็คของกลาง ผู้ต้องหาไม่มีทางจะชำระเงินตามเช็คได้ และเหตุที่
ผู้ต้องหาออกเช็คเพราะถูกผู้เสียหายบีบบังคับด้วยการให้เงินไปเปิดบัญชีกระแสรายวัน เมื่อผู้ต้องหา
ได้เช็คมาก็ให้ออกเช็คให้ผู้เสียหายทันที ๓ ฉบับ ซึ่งตรงกับรายการบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวข้างต้น
จึงไม่ใช่การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง (นัยคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๒๔/๒๕๒๕) และสัญญากู้
พร้อมสมุดเช็คก็อยู่ในความครอบครองของผู้กล่าวหา การเขียนรายการลงในสัญญากู้ผู้กล่าวหา
เป็นผู้เขียนทั้งหมด และเพิ่มเติมข้อความเพียงลำพังไม่ได้กระทำต่อหน้าผู้ต้องหา พยานหลักฐาน
ไม่พอฟ้องชี้ขาดไม่ฟ้อง นาย น. ผู้ต้องหา ฐานออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ และห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้น
โดยเจตนาทุจริต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔
(๑), (๒), (๕)
คำชี้ขาดความเห็นแย้ง