Page 193 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 193
บทสรุปผลการศึกษา
โครงสร้างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- โครงสร้างของหน่วยงานต่าง ๆ ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
ประกอบไปด้วย
(๑) ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit)
(๒) คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council)
(๓) คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Council)
(๔) องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Body)
๐ เจ้าหน้าที่อาวุโสและองค์กรย่อยที่เกี่ยวข้อง
(Relevant Senior Officials and Subsidiary Bodies)
(๕) เลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน (Secretary - General of ASEAN
and ASEAN Secretariat)
(๖) คณะกรรมการถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent Representatives
to ASEAN)
(๗) สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariats)
(๘) องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Body)
๐ คณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
(ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights)
(๙) มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation)
- เสาหลักของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ประกอบไปด้วย ๓ ด้าน คือ
(๑) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political - Security Community)
(๒) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)
(๓) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community)
- กรอบการประชุมขององค์กรเกี่ยวกับกฎหมาย ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องเป็นหลักและถูกกำหนด
ไว้ภายใต้โครงสร้างของเสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ได้แก่
(๑) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย / ASEAN Law Ministers Meeting
(ALAWMM)
๐ ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านกฎหมาย / ASEAN Senior Law
Officials Meetings (ASLOM)
(๒) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ / ASEAN Ministerial Meeting
on Transnational Crime (AMMTC)
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 183