Page 191 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 191

หน่วยงานตุลาการของแต่ละประเทศสมาชิก จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับบทบาทของสำนักงานอัยการสูงสุด
                     ดังนั้น ท่าที (Position) ของสำนักงานอัยการสูงสุดต่อเวที CACJ นั้น จึงเห็นควรคงท่าทีเช่น
                ที่เคยปฏิบัติไว้ คือไม่จำต้องส่งผู้แทนหรือผลักดันบทบาทของสำนักงานอัยการสูงสุดในเวทีดังกล่าว
                แต่อย่างใด
                
    (๓.๙) คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศของรัฐบาลในประเทศอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
                (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR))

                     จากการตรวจสอบฐานข้อมูลสำนวนที่ปรากฏของสำนักวิเทศสัมพันธ์ และศูนย์พันธกิจ
                ประชาคมอาเซียน สำนักงานต่างประเทศ พบว่าปรากฏข้อมูลการส่งผู้แทนเข้าร่วมของสำนักงาน
                อัยการสูงสุดไม่มากนัก โดยอาจมีความเป็นไปได้ว่าสำนักงานอัยการสูงสุดได้เคยส่งผู้แทนเข้าร่วม
                จำนวนไม่มาก หรืออาจเป็นไปได้ว่าฐานข้อมูลสำนวนได้ถูกเก็บไว้ที่หน่วยงานภายในอื่นนอกเหนือ
                จากสำนักงานต่างประเทศโดยมิได้มีการแจ้งให้สำนักงานต่างประเทศได้รับทราบ อย่างไรก็ดี
                เมื่อพิจารณาบทบาทของเวทีการประชุมดังกล่าว คือการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
                ของอาเซียน นอกเหนือไปจากองค์กรอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเฉพาะทางแล้ว
                จะเห็นว่า  แม้บทบาทหนึ่งของสำนักงานอัยการสูงสุดคือ  การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและ
                สิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นพันธกิจหลักของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ
                ทางกฎหมายแก่ประชาชนก็ตาม แต่เนื่องจากที่ประชุม AICHR นั้น มิใช่บทบาทที่สำนักงานอัยการสูงสุด
                เป็นผู้มีหน้าที่หลักในประเทศไทย ซึ่งได้มีหน่วยงานเฉพาะทางอยู่จำนวนมากอยู่แล้ว อาทิ สำนักงาน
                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น ทั้งยังได้มีการแต่งตั้งผู้แทนคณะกรรมาธิการระหว่าง
                ประเทศของรัฐบาลในประเทศอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยเป็นผู้แทนที่รับผิดชอบ
                หลักในประเด็นดังกล่าวในที่ประชุมนี้ของประเทศไทยโดยเฉพาะอยู่แล้ว ความสำคัญที่จะต้องผลักดัน
                บทบาทของสำนักงานอัยการสูงสุดต่อที่ประชุมดังกล่าวจึงไม่มีมากนัก
                     ดังนั้น ท่าที (Position) ของสำนักงานอัยการสูงสุดต่อเวที AICHR นั้น จึงเห็นควรว่า
                สำนักงานอัยการสูงสุดควรมีท่าทีที่เป็นกลางต่อที่ประชุมดังกล่าว กล่าวคือ หากมีกรณีที่ได้รับเชิญ
                หรือมีความสำคัญที่เข้าไปร่วม ก็สามารถเข้าร่วมแสดงบทบาทในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ตามวาระโอกาส

                แต่ควรให้ความสำคัญในลำดับรองมาจากเวทีการประชุมอื่นที่สำคัญกว่า
                

   ทั้งนี้ มีข้อสังเกตเช่นเดียวกับกรณีที่ประชุม AMMTC AMMD SOMTC และ ASOD ว่า หากกรณี
                ปรากฏว่ามีการเก็บข้อมูลสำนวนการเข้าร่วมการประชุมในที่ประชุมทั้งสองไว้ในฐานข้อมูล
                ของหน่วยงานภายในอื่น  อาทิ  สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
                แก่ประชาชน โดยไม่ปรากฏในฐานข้อมูลของสำนักงานต่างประเทศจริง ย่อมแสดงให้เห็นถึงปัญหา
                ดังได้กล่าวถึงแล้วข้างต้น ดังนั้นระบบสารบบข้อมูลในการส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมระหว่าง
                ประเทศและบันทึกสารัตถะจากการเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศในองค์กรหรือเวทีระหว่าง
                ประเทศต่าง ๆ ซึ่งย่อมมีความเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของสำนักงานต่างประเทศนั้น จึงควร
                กำหนดให้มีการบูรณาการกับหน่วยงานภายในอื่น ๆ ของสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อการดำเนินการ
                ที่เป็นเอกภาพและมีความต่อเนื่อง โดยขั้นต่ำที่สุด สำนักงานต่างประเทศควรได้รับทราบข้อมูลของ
                การส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมในเวทีระหว่างประเทศของหน่วยงานภายในสำนักงานอัยการสูงสุด
                และข้อมูลว่าจะสามารถติดตามสารัตถะการประชุมที่เกี่ยวข้องได้จากหน่วยงานภายในใดเมื่อจำเป็น
                ต้องใช้ข้อมูลดังกล่าว





                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  181
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196