Page 189 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 189

และนักกฎหมายอื่น ๆ กล่าวได้ว่ามีบทบาทที่เป็นสารัตถะในที่ประชุมดังกล่าวไม่มากนัก และหน่วยงาน
                ที่มีบทบาทนำในการประชุมดังกล่าวคือผู้พิพากษาศาลฎีกาและสำนักงานศาลยุติธรรม แต่จาก
                ประวัติการส่งผู้แทนเข้าร่วม สำนักงานอัยการสูงสุดได้ให้อัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุดเป็น
                หัวหน้าคณะผู้แทนเข้าร่วมหลายครั้ง จึงเป็นประเด็นที่เห็นควรตั้งเป็นข้อสังเกตเพื่อประกอบการ
                พิจารณาในการดำเนินการในอนาคตต่อไป
                     ดังนั้น ท่าที (Position) ของสำนักงานอัยการสูงสุดต่อเวที AMAG - MLAT และ SOM -

                MLAT นั้น จึงเห็นควรรักษาการมีส่วนร่วมในที่ประชุมดังกล่าวของสำนักงานอัยการสูงสุดไว้ โดยถือ
                เป็นที่ประชุมที่สำนักงานอัยการสูงสุดควรให้ความสำคัญในระดับสูงสุด ทั้งในด้านการส่งผู้แทน
                เข้าร่วมให้มีระดับชั้นที่เหมาะสม (ซึ่งในที่นี้ขอเสนอว่าเห็นควรไม่ต่ำกว่าระดับรองอัยการสูงสุด
                เป็นหัวหน้าคณะผู้เข้าร่วมการประชุม AMAG - MLAT ส่วนการประชุม SOM - MLAT เห็นควร
                มอบหมายผู้แทนในระดับอธิบดีอัยการหรือรองอธิบดีอัยการเป็นหัวหน้าคณะผู้เข้าร่วมประชุม)
                และการทำการศึกษาข้อมูลรวมถึงประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมและผลักดัน
                ประเด็นความร่วมมือต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของ
                สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อให้มีประสิทธิภาพขึ้นต่อไป นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่า หากในอนาคต
                สามารถผลักดันให้ความร่วมมือในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Extradition) ซึ่งมี
                ความเกี่ยวข้องกับผู้ประสานงานกลาง (Central Authority) เป็นอย่างยิ่งเข้ามาอยู่ในขอบข่าย
                ของประชุมทั้งสองนี้ ย่อมจะเป็นผลในเชิงบวก จึงเป็นประเด็นที่ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด
                สมควรที่จะดำเนินการผลักดันต่อไป
                

   (๓.๖) ที่ประชุมอธิบดีกรมตำรวจอาเซียน (ASEANAPOL)
                     จากการตรวจสอบฐานข้อมูลสำนวนที่ปรากฏของสำนักวิเทศสัมพันธ์ และศูนย์พันธกิจ
                ประชาคมอาเซียน สำนักงานต่างประเทศ พบว่าไม่ปรากฏการส่งผู้แทนเข้าประชุมของสำนักงาน
                อัยการสูงสุด ทั้งเมื่อพิจารณาแล้วเวทีดังกล่าวมีลักษณะเป็นที่ประชุมระหว่างผู้นำของหน่วยงาน
                ตำรวจของแต่ละประเทศสมาชิก จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับบทบาทของสำนักงานอัยการสูงสุดแต่
                อย่างใด

                     ดังนั้น ท่าที (Position) ของสำนักงานอัยการสูงสุดต่อเวที ASEANAPOL นั้น จึงเห็นควรคง
                ท่าทีเช่นที่เคยปฏิบัติไว้ คือไม่จำต้องส่งผู้แทนหรือผลักดันบทบาทของสำนักงานอัยการสูงสุดในเวที
                ดังกล่าวแต่อย่างใด
                

   (๓.๗) สมาคมกฎหมายอาเซียน (ASEAN Law Association (ALA))
                     จากการตรวจสอบฐานข้อมูลสำนวนที่ปรากฏของสำนักวิเทศสัมพันธ์ และศูนย์พันธกิจ
                ประชาคมอาเซียน สำนักงานต่างประเทศ พบว่านับตั้งแต่การประชุมครั้งที่ ๒๙ ณ ประเทศมาเลเซีย
                ในปี ค.ศ. ๒๐๐๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ซึ่งเป็นสำนวนเก่าที่สุดที่ตรวจพบนั้น สำนักงานอัยการสูงสุด
                ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมของสมาคมกฎหมายอาเซียนที่จัดขึ้นเกือบทุกปีมาโดยตลอด โดยผู้นำ
                คณะผู้แทนโดยมากจะเป็นระดับรองอัยการสูงสุด โดยอัยการสูงสุดและผู้ตรวจการอัยการเป็น
                หัวหน้าคณะผู้แทนเข้าร่วมการประชุมบางครั้ง และน้อยครั้งที่หัวหน้าคณะผู้แทนจะเป็นระดับ
                อธิบดีอัยการหรืออาวุโสน้อยกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสำนักงานอัยการสูงสุดค่อนข้างให้ความสำคัญ
                กับเวที ALA ค่อนข้างมากโดยเปรียบเทียบกับเวทีอื่น อย่างไรก็ดี เป็นที่ชัดเจนว่า ตามคำสั่งประธาน
                คณะกรรมการแห่งชาติ  สมาคมกฎหมายประจำประเทศไทย  ที่  ๒/๒๕๖๐  เรื่อง  แต่งตั้ง





                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  179
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194