Page 185 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 185
การปรับกฎหมายการค้าและอนุญาโตตุลาการให้สอดคล้องกัน (Harmonization of Trade Law
(Arbitration and International Sale of Goods)) ก็ยังเกี่ยวพันกับขอบเขตบทบาทหน่วยงาน
บางส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดเช่นกัน จึงจะเห็นได้ว่าหากสำนักงานอัยการสูงสุดไม่มีผู้แทน
ในการประชุมดังกล่าวหรือไม่มีบทบาทที่มากพอ หน่วยงานอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานเจ้าภาพ
ก็ย่อมจะสนับสนุนเน้นไปเฉพาะในมิติที่อยู่ในขอบข่ายบทบาทหน้าที่ของตนเป็นหลัก
ดังนั้น ท่าที (Position) ของสำนักงานอัยการสูงสุดต่อเวที ALAWMM และ ASLOM
ในปัจจุบันนั้น จึงเห็นควรว่า แม้จะปรากฏชัดเจนตั้งแต่ในระยะแรกที่เริ่มมีเวทีประชุมดังกล่าวมา
จนถึงปัจจุบันว่าผู้รับผิดชอบเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนของไทยในการเข้าร่วมการประชุม ALAWMM
และ ASLOM จะได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และเจ้าหน้าที่ระดับสูงซึ่งรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงยุติธรรมมอบหมาย และหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลักของประเทศไทยที่สนับสนุนคือ
กระทรวงยุติธรรม ก็ตาม แต่สำนักงานอัยการสูงสุดควรให้ความสนใจในการพยายามเพิ่มบทบาท
และการมีส่วนร่วมขององค์การในที่ประชุมเวทีนี้ด้วย เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ในการผลักดัน
นโยบายต่าง ๆ ที่ส่งผลในทางบวกต่อการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานและมีหลายช่องทางที่อยู่ใน
ขอบเขตบทบาทของที่ประชุมก็สามารถใช้ในการช่วยเพิ่มและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
สำนักงานอัยการสูงสุดได้กล่าวแล้วข้างต้น นอกจากนี้หากมีกรณีที่มติในประเด็นใดของที่ประชุม
อาจมีผลกระทบหรือมีผลต่อการดำเนินการใด ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทบาทในกระบวนการ
ยุติธรรมของสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนของสำนักงานอัยการสูงสุดจักได้มีโอกาสรับเรื่องมา
เพื่อรายงานอัยการสูงสุดหรือหารือภายในหน่วยงาน รวมถึงมีโอกาสที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับ
ประเด็นดังกล่าว เนื่องจากในหลายกรณีหากที่ประชุมได้มีมติเกี่ยวกับประเด็นใดโดยที่ผู้แทน
จากไทยมิได้โต้แย้งไว้แล้ว สำนักงานอัยการสูงสุดก็จำต้องปฏิบัติตามแนวทางที่เป็นผลจากมตินั้น
ไม่ว่าจะได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมในการประชุมครั้งดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม
(๓.๒) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Ministerial
Meeting on Transnational Crime (AMMTC)) และที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วย
อาชญากรรมข้ามชาติ (Senior Officials Meeting on Transnational Crime (SOMTC))
และที่ประชุมผู้อำนวยการกรมการตรวจตรวจคนเข้าเมืองและหัวหน้ากองการกงสุลของ
กระทรวงต่างประเทศ (Directors - General of Immigration Departments and Heads
of Consular Affairs Divisions of Ministries of Foreign Affairs Meeting (DGICM))
จากการตรวจสอบฐานข้อมูลสำนวนที่ปรากฏของสำนักวิเทศสัมพันธ์ และศูนย์พันธกิจ
ประชาคมอาเซียน สำนักงานต่างประเทศ พบว่าสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีการส่งผู้แทนเข้าร่วม
การประชุมในเวทีระหว่างประเทศ คือ AMMTC และ SOMTC อย่างค่อนข้างสม่ำเสมอ
ส่วน DGICM นั้นตรวจไม่พบในฐานข้อมูลแต่ข้อมูลที่ปรากฏในฐานข้อมูลจะขาดความต่อเนื่องไปบ้าง
โดยในการประชุมบางครั้งจะไม่ปรากฏสำนวน จึงไม่อาจตรวจสอบได้ว่าในการประชุมครั้งดังกล่าว
สำนักงานอัยการสูงสุดได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมหรือไม่ หากส่งเข้าร่วมหัวหน้าคณะผู้แทนเป็นระดับชั้นใด
และการประชุมครั้งดังกล่าวมีสารัตถะอย่างไร ทั้งยังเป็นที่สังเกตได้ว่า ปริมาณสำนวนการเข้าร่วม
ประชุมในเวทีทั้งสองมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนครั้งที่ควรจะมีการประชุมขึ้น จึงมีความเป็นไปได้ว่า
การเข้าร่วมประชุมทั้งสองเวทีนอกเหนือจากข้อมูลสำนวนที่ตรวจสอบพบอาจถูกเก็บแยกเป็น
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 175