Page 182 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 182

- เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ รวมถึงองค์กรต่าง ๆ
          ที่เกี่ยวข้องในด้านกฎหมายระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน
                ในส่วนของประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติสมาคมกฎหมายอาเซียน

          ประจำประเทศไทย โดยมีประธานศาลฎีกาเป็นประธานคณะกรรมการ ซึ่งตามคำสั่งประธาน
          คณะกรรมการแห่งชาติสมาคมกฎหมายอาเซียนประจำประเทศไทย ที่ ๒/๒๕๖๐ เรื่อง แต่งตั้ง
          คณะกรรมการแห่งชาติสมาคมกฎหมายอาเซียนประจำประเทศไทย ได้มีการแต่งตั้งผู้แทน
          จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ สถาบันอุดมศึกษา และภาคเอกชนบางส่วน โดยมีสัดส่วนเน้นไปทาง
          ผู้แทนซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการทั้งปัจจุบันและในอดีตรวมถึงผู้แทนจากสำนักงานศาลยุติธรรมเป็น
          อัตราส่วนค่อนข้างสูง
          

    (๒.๑๓) สภาประธานศาลสูงสุดอาเซียน (Council of ASEAN Chief Justices
          (CACJ))
                สภาประธานศาลสูงสุดอาเซียน ได้ริเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๒๐๑๓ (พ.ศ. ๒๕๕๖) สืบเนื่อง

          มาจากการประชุมคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมาธิการถาวรของสมาคมกฎหมายอาเซียน
          (ASEAN Law Association (ALA)) โดยในการประชุมช่วงแรกเป็นไปอย่างไม่เป็นทางการโดยเรียกว่า
          การประชุมประธานศาลสูงสุดอาเซียน (ASEAN Chief Justices’ Meeting) และได้มีการเพิ่ม
          องค์กรดังกล่าวไปยังภาคผนวก ๒ (Annex II) ของกฎบัตรอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี
          ค.ศ. ๒๐๑๗ (พ.ศ. ๒๕๖๐) โดยกำหนดให้มีการประชุมกันทุกปีปีละ ๑ ครั้ง
          
     ผู้รับผิดชอบ : ประธานศาลฎีกา
          
     บทบาทและทิศทางการทำงาน : เพื่อเป็นเวทีในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความเข้าใจ

          ร่วมกันระหว่างศาลยุติธรรมภายในภูมิภาคอาเซียนให้มีความแน่นแฟ้นขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้
          ประธานศาลสูงสุดอาเซียนสามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน และเพื่อประสาน
          ความร่วมมือทางการศาลร่วมกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
                การประชุมตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมา มีประเด็นสำคัญหลายประเด็นที่ได้รับความสนใจ ตั้งแต่
          การกำหนดแนวทางในการสร้างความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการศาลในภูมิภาคอาเซียน
          ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การส่งเสริมการศึกษาและการอบรมทางการศาล การส่งเอกสาร
          ทางแพ่งและพาณิชย์ภายในภูมิภาค การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในศาลยุติธรรม การหาแนวทาง
          ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเด็กที่มีบิดามารดาต่างสัญชาติกัน การร่วมกันพัฒนาระบบคดีและศาล
          สิ่งแวดล้อมระดับประเทศ การพัฒนาระบบข้อมูลภายในประเทศของตน การจัดตั้งสำนักเลขาธิการ

          สภาประธานศาลสูงสุดอาเซียนขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์
                โดยที่ประชุมฯ ได้มีการทำข้อตกลงที่สำคัญคือ ข้อตกลงโบราไกย์ ค.ศ. ๒๐๑๕ (Boracay
          Accord of ๒๐๑๕) คำประกาศแห่งนครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh Declaration) คำประกาศ
          บันดาร์เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan Declaration) รวมถึงได้มีการตั้งคณะทำงานย่อย
          (Working Groups) ร่วมกันเพื่อดำเนินการตามความร่วมมือในแต่ละด้าน โดยจะมีการประชุม
          คณะทำงานระดับสูงปีละ ๒ ครั้ง ซึ่งคณะทำงานต่าง ๆ โดยสรุปทั้ง ๖ ด้าน คือ
                - คณะทำงานด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการศาลในภูมิภาคอาเซียนผ่านระบบเครือข่าย

          อินเตอร์เน็ต (ASEAN Judiciaries Portal หรือ AJP)



              172   บทความ
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187