Page 183 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 183

- คณะทำงานด้านความร่วมมือทางการศาลในภูมิภาคอาเซียน ว่าด้วยการนำเทคโนโลยีสมัย
                ใหม่มาใช้ในศาลยุติธรรมและบริหารจัดการคดี (Court Technologies and Case Management)
                     - คณะทำงานด้านการศึกษาและการอบรมทางการศาลสำหรับผู้พิพากษาในภูมิภาคอาเซียน
                (Judicial Education and Training)
                     -  คณะทำงานด้านการส่งเอกสารในทางแพ่งและพาณิชย์ภายในภูมิภาคอาเซียน
                (Facilitating the Service of the Civil Process)

                     - คณะทำงานด้านข้อพิพาทเกี่ยวกับเด็กที่มีบิดามารดาต่างสัญชาติกัน (Cross - border
                Child Disputes)
                     - คณะทำงานเพื่อศึกษาถึงขอบเขตวัตถุประสงค์ และบทบาทของสภาประธานศาลสูงสุด
                อาเซียน (Institutionalizing / Formalizing the CACJ)
                     ทั้งนี้ การประชุมของสภาประธานศาลสูงสุดอาเซียนจะเป็นการประชุมที่เข้าร่วมเฉพาะหน่วย
                งานเฉพาะด้าน คือ หน่วยงานศาลยุติธรรม ซึ่งจะไม่เชิญหน่วยงานภายนอกเข้าร่วมประชุม
                

   (๒.๑๔)  คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  (ASEAN
                Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR))
                     คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ๒๐๐๙
                (พ.ศ. ๒๕๕๒) ในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ ๑๕ ณ ราชอาณาจักรไทย
                โดยกำหนดให้อยู่ภายใต้เสาหลักของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political
                - Security Community) นอกเหนือจากโครงสร้างองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
                (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies)
                

   ผู้รับผิดชอบ : ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
                ซึ่งดำรงตำแหน่งโดยการสรรหาและได้รับความเห็นชอบโดยมติคณะรัฐมนตรี วาระละ ๓ ปี
                ดำรงตำแหน่งไม่เกิน ๒ วาระ
                

   บทบาทและทิศทางการทำงาน : เพื่อเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่และรับผิดชอบด้านการส่งเสริม
                และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของอาเซียน นอกเหนือไปจากองค์กรอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ

                สิทธิมนุษยชนเฉพาะทาง อาทิ คณะกรรมาธิการอาเซียนด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและ
                เด็ก (ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Right of Women
                and Children (ACWC)) และคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการป้องกันและคุ้มครองสิทธิของ
                แรงงานข้ามชาติ (ASEAN Committee on the Protection and Promotion of the Right of
                Migrant Workers (ACMW)) ซึ่งได้สังกัดอยู่ภายใต้เสาหลักประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
                (ASEAN Socio - Cultural Community)
                     คณะกรรมาธิการฯ ดำเนินการโดยยึดมั่นในหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น
                (Principle of Non - Interference) และการตัดสินใจโดยฉันทามติ (Consensus) โดยที่ผ่านมา
                คณะกรรมาธิการฯ ได้มีความสำเร็จในการจัดทำ “ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” (ASEAN
                Human Right Declaration) และแถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนขึ้น
                โดยได้มีผลใช้บังคับในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๕) ซึ่งตราสารทั้งสองได้ถูกใช้เป็นแนวทางในการ
                ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน







                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  173
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188