Page 186 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 186
สำนวนไว้ในสารบบสำนวนของสำนักงานคดีค้ามนุษย์โดยเฉพาะต่างหากจากที่ได้เก็บไว้ใน
สำนักงานต่างประเทศภายหลังจากที่ได้มีการจัดตั้งสำนักงานคดีค้ามนุษย์ขึ้น ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็น
ดังกล่าว คือ ได้มีการส่งผู้แทนเข้าร่วมที่ประชุมทั้งสองโดยเพียงมีข้อมูลเก็บอยู่ที่สำนักงานคดีค้ามนุษย์
โดยสำนักงานต่างประเทศไม่อาจเก็บบันทึกข้อมูลหรือรับทราบเกี่ยวกับการเข้าร่วมแต่อย่างใด
กรณีแสดงให้เห็นถึงปัญหาของระบบภายในของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ต่างฝ่ายแต่ละสำนักงานติดต่อ
และประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศได้โดยตนเอง และข้อมูลการเข้าร่วมหรือสารัตถะและ
การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมมิได้มีการแจ้งหรือให้สำนักงานต่างประเทศรับทราบ
แต่อย่างใด ทำให้บทบาทของสำนักงานต่างประเทศในฐานะหน่วยงานต้นทางในการติดต่อ
ด้านการต่างประเทศกับหน่วยงานอื่นจึงได้ถูกลดทอนและเสียประสิทธิภาพไป และทำให้สำนักงาน
อัยการสูงสุดขาดการดำเนินการอันเป็นเอกภาพ บูรณาการ และความต่อเนื่องในด้านสารบบข้อมูล
และการประสานงานระหว่างหน่วยงานภายใน อย่างไรก็ดี เท่าที่พิจารณาจากข้อมูลสำนวน
ที่ปรากฏในฐานข้อมูลและบทบาทหน้าที่ของที่ประชุม AMMTC และ SOMTC แล้ว พบว่าบทบาท
หน้าที่หลักของที่ประชุมทั้งสองคือ การส่งเสริมความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
ระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียน (ซึ่งก่อนหน้านี้ครอบคลุมไปถึงด้านยาเสพติดด้วยก่อนที่จะได้แยกออกไป
เป็นที่ AMMD) นั้น มีความเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่และพันธกิจของสำนักงานอัยการสูงสุด
เป็นอย่างยิ่งในหลายด้าน
ดังนั้น ท่าที (Position) ของสำนักงานอัยการสูงสุดต่อเวที AMMTC และ SOMTC
ในปัจจุบันนั้นจึงเห็นควรที่จะให้ความสำคัญกับเวทีการประชุมทั้งสอง รวมถึงผลักดันบทบาทของ
สำนักงานอัยการสูงสุดในฐานะหนึ่งในหน่วยงานหลักที่มีพันธกิจเกี่ยวข้องกับการปราบปราม
อาชญากรรมข้ามชาติ
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า หากกรณีปรากฏว่ามีการเก็บข้อมูลสำนวนการเข้าร่วมการประชุมในที่
ประชุมทั้งสองไว้ในฐานข้อมูลของสำนักงานคดีค้ามนุษย์นอกเหนือจากที่ปรากฏในฐานข้อมูลของ
สำนักงานต่างประเทศ ย่อมแสดงให้เห็นถึงปัญหาดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นระบบสารบบข้อมูลในการ
ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศและบันทึกสารัตถะจากการเข้าร่วมการประชุมระหว่าง
ประเทศในองค์กรหรือเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ ซึ่งย่อมมีความเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่
ของสำนักงานต่างประเทศนั้น จึงควรกำหนดให้มีการบูรณาการกับหน่วยงานภายในอื่น ๆ
ของสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อการดำเนินการที่เป็นเอกภาพและมีความต่อเนื่องด้วย โดยอย่างน้อย
ที่สุด สำนักงานต่างประเทศควรได้รับทราบข้อมูลของการส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมในเวที
ระหว่างประเทศของหน่วยงานภายในสำนักงานอัยการสูงสุดและข้อมูลว่าจะสามารถติดตาม
สารัตถะการประชุมที่เกี่ยวข้องได้จากหน่วยงานภายในใดเมื่อจำเป็นต้องใช้ข้อมูลดังกล่าว
(๓.๓) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยเรื่องยาเสพติด(ASEAN Ministerial Meeting
on Drug Matters (AMMD)) และที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนว่าด้วยเรื่องยาเสพติด
(ASEAN Senior Officials on Drugs Matters (ASOD))
จากการตรวจสอบฐานข้อมูลสำนวนที่ปรากฏของสำนักวิเทศสัมพันธ์ และศูนย์พันธกิจ
ประชาคมอาเซียน สำนักงานต่างประเทศ พบว่าบทบาทของที่ประชุมทั้งสองกล่าวโดยสรุปคือ
การส่งเสริมบทบาทในการวางยุทธศาสตร์และเสริมสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับการปราบปราม
176 บทความ