Page 184 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 184

๓. ข้อเสนอแนะท่าทีต่อการเข้าร่วมประชุมของสำนักงานอัยการสูงสุด
          

    (๓.๑) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย (ASEAN Law Ministers Meeting
          (ALAWMM)) และที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านกฎหมาย (ASEAN Senior Law

          Officials Meetings (ASLOM))
                จากการตรวจสอบฐานข้อมูลสำนวนที่ปรากฏของสำนักวิเทศสัมพันธ์ และศูนย์พันธกิจ
          ประชาคมอาเซียน สำนักงานต่างประเทศ พบว่ากรณีที่ไม่นับรวมการประชุมซึ่งต่อมาได้แยกออก
          เป็นการประชุมในกรอบของ AMAG - MLAT และ SOM - MLAT แล้ว สำนักงานอัยการสูงสุดได้
          เคยส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการประชุมอื่นในกรอบของ ALAWMM และ ASLOM หลายครั้ง แต่มักเป็น
          เฉพาะในบางประเด็น อาทิ ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา (MLAT) การส่งผู้ร้าย
          ข้ามแดน (Extradition) หรือการโอนตัวนักโทษ อย่างไรก็ดี การประชุมเวที ALAWMM และ
          ASLOM นั้น มีขอบเขตบทบาทเกี่ยวข้องกับทางกฎหมายในระดับที่กว้างขวางมาก ตั้งแต่ในด้าน
          ความร่วมมือในการยกระดับความเข้าใจกฎหมายของแต่ละประเทศสมาชิก การให้ความร่วมมือใน

          การฝึกอบรม การศึกษา และการแลกเปลี่ยนดูงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโส
          ด้านกฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงการมุ่งเป็นแหล่งระบบข้อมูลทางกฎหมายอาเซียน
          (ASEAN Legal Information System) ซึ่งในขอบเขตของบทบาททั้งหลายเหล่านี้ หลายส่วน
          มีความเกี่ยวพันกับอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดในกระบวนการยุติธรรมและวงการ
          กฎหมายไทย นอกเหนือไปจากเฉพาะประเด็นซึ่งเกี่ยวข้องกับความร่วมมือตามสนธิสัญญาว่าด้วย
          ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาในภูมิภาคอาเซียน (Treaty on Mutual Legal
          Assistance in Criminal Matters among like - minded ASEAN Member Countries

          (ASEAN - MLAT)) ซึ่งต่อมาได้รับการยกระดับให้เป็นสนธิสัญญาอาเซียน (ASEAN Treaty) และได้
          แยกการประชุมที่เกี่ยวข้องดังกล่าวจากที่ประชุม ALAWMM และ ASLOM ไปเป็น AMAG -MLAT
          และ SOM - MLAT อีกด้วย
                บทบาทของที่ประชุมในด้านการยกระดับความเข้าใจกฎหมายของแต่ละประเทศสมาชิกนั้น
          ย่อมมีประโยชน์อย่างมากรวมถึงในด้านของกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญาหรือ
          กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ ให้มีการแปลกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญาที่เป็น
          ทางการของแต่ละประเทศแสดงไว้ในฐานข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งเป็นด้านที่ผู้แทนสำนักงาน
          อัยการสูงสุดสามารถผลักดันได้ ในส่วนของความร่วมมือในการฝึกอบรม การศึกษา และแลกเปลี่ยน
          ดูงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านกฎหมายของแต่ละประเทศสมาชิก ก็อาจ

          ใช้เป็นโอกาสในการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุดโดยอาศัยเงินทุนหรืองบประมาณ
          ของหน่วยงานภายนอกได้ เนื่องจากสำนักงานอัยการสูงสุดค่อนข้างจะมีปัญหาด้านการจัดสรร
          งบประมาณให้กิจกรรมในกลุ่มนี้ รวมถึงยังเป็นช่องทางในการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับหน่วยงาน
          ในกระบวนการยุติธรรมอื่นที่ไม่ใช่ผู้ประสานงานกลางของรัฐสมาชิกอาเซียนต่าง ๆ อีกด้วย
          ขณะเดียวกัน ระบบข้อมูลทางกฎหมายอาเซียน (ASEAN Legal Information System)
          ก็ยังสามารถพัฒนาเป็นกลไกหลาย ๆ อย่างที่ส่งผลเชิงบวกต่อการร่วมมือระหว่างประเทศ
          ที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายบทบาทหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดได้ ทั้งการพัฒนาด้านกฎหมาย

          หลายด้านซึ่งดำเนินการโดยที่ประชุมนั้นแม้จะดูเกี่ยวข้องกับทางแพ่งมากกว่าทางอาญา อาทิ



              174   บทความ
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189