Page 181 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 181

ผู้รับผิดชอบ : ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
                

   บทบาทและทิศทางการทำงาน : เป็นเวทีส่งเสริมการประสานงานกันทั้งในระดับเป็น
                ทางการ (Official) และไม่เป็นทางการ (Unofficial) ของหัวหน้าตำรวจอาเซียน เพื่อเสริมสร้างและ

                กระชับความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานตำรวจอาเซียนให้มีความแน่นแฟ้น โดยเน้นไปที่ความร่วมมือ
                ขององค์การตำรวจในแต่ละรัฐสมาชิกในการรับมือกับอาชญากรรมข้ามชาติที่มีผลต่อการเติบโตและ
                การพัฒนาในภูมิภาคอาเซียนโดยรวม
                     ที่ประชุมฯเน้นดำเนินการเกี่ยวกับความร่วมมือในการรับมือกับอาชญากรรมข้ามชาติ โดยใน
                ระยะแรก ที่ประชุมจะเน้นในประเด็นของการใช้และการลักลอบค้ายาเสพติด และต่อมาได้ขยายตัว
                ไปยังประเด็นต่าง ๆ ตามการขยายตัวของอาชญากรรมข้ามชาติ อันได้แก่ การก่อการร้าย
                การลักลอบค้าอาวุธ การฟอกเงิน การหลบหนีเข้าเมือง การกระทำอันเป็นโจรสลัด และการจัดตั้ง
                เครือข่ายหรือองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
                     แนวทางในการดำเนินการที่ผ่านมาของที่ประชุมอธิบดีกรมตำรวจอาเซียน ยังเน้นในเรื่อง

                การสนับสนุนระเบียบและกฎหมายในประเทศสมาชิกอาเซียน การส่งเสริมการพัฒนาและ
                การดำเนินการที่เป็นระบบในการบังคับใช้กฎหมายและการรักษาความสงบเรียบร้อย การเสริมสร้าง
                ความร่วมมือร่วมใจและความสมัครสมานสามัคคีของทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนรวมถึงการ
                พัฒนาขีดความสามารถทั้งในระดับองค์กรและบุคลากรในการต่อต้านการก่อการร้ายและ
                อาชญากรรมข้ามชาติด้วย
                     ทั้งนี้ การประชุมของที่ประชุมอธิบดีกรมตำรวจอาเซียนจะเป็นการประชุมที่เข้าร่วมเฉพาะ
                หน่วยงานเฉพาะด้าน คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะไม่เชิญหน่วยงานภายนอกเข้าร่วมประชุม

                

   (๒.๑๒) สมาคมกฎหมายอาเซียน (ASEAN Law Association (ALA))
                     สมาคมกฎหมายอาเซียน ได้ริเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๗๙ (พ.ศ. ๒๕๒๒) โดยกำหนดให้
                มีการประชุมกันของที่ประชุมใหญ่ (General Assembly) ทุก ๒ ปี ในระยะแรก และเปลี่ยนเป็น
                ประชุมทุก ๓ ปี นับแต่การประชุมครั้งที่ ๔ ในปี ค.ศ. ๑๙๘๖ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ส่วนที่ประชุม
                คณะกรรมาธิการบริหาร (Governing Council Meetings) นั้น จะมีการประชุมกันทุกปี
                

   ผู้รับผิดชอบ : ประธานศาลฎีกา ในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติสมาคมกฎหมาย
                อาเซียนประจำประเทศไทย
                

   บทบาทและทิศทางการทำงาน : เป็นองค์กรที่รวมกันของนักกฎหมายชั้นนำของประเทศ
                ในกลุ่มอาเซียนทั้งจากภาครัฐ องค์กรอิสสระ และภาคเอกชน

                     ธรรมนูญสมาคมกฎหมายอาเซียน ได้กำหนดวัตถุประสงค์หลักของการดำเนินงานสมาคม
                กฎหมายอาเซียนไว้ คือ
                     - สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและเพิ่มพูนความรู้ระหว่างนักกฎหมายในประเทศสมาชิก
                อาเซียน
                     - ดำเนินการให้เกิดความร่วมมือภายใต้โครงสร้างขององค์กรในภูมิภาคอาเซียน
                     - การให้บริการแก่องค์กรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์กรอาเซียน ภายใต้
                หลักการไม่ก้าวก่ายกัน (Principle of Non - Interference)







                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  171
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186