Page 177 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 177
ที่ประชุม ASOD จะมีลักษณะเป็นที่ประชุมที่ดำเนินการด้านปฏิบัติในรายละเอียดของ
AMMD โดยจะเน้นไปในมิติของด้านยาเสพติดซึ่งอาเซียนให้ความสนใจ โดยที่ประชุม ASOD จะมี
การแบ่งเป็นคณะทำงาน (Working Group) กลุ่มต่าง ๆ ในประเด็นสำคัญ ดังนี้
- ASOD Working Groups ประกอบไปด้วย ๕ กลุ่มย่อย คือ การศึกษาเชิงป้องกัน
(Preventive Education) การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษา (Treatment and Rehabilitation)
การบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) การค้นคว้าวิจัย (Research) และการพัฒนาทางเลือก
(Alternative Development)
- ASEAN Airport Interdiction Task Force (AAITF) ซึ่งมีบทบาทเป็นเวทีในการยกระดับ
ปฏิบัติการและการสืบสวนสอบสวนร่วมกันระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
ของอาเซียนเกี่ยวกับการลักลอบขนยาเสพติดผ่านท่าอากาศยานนานาชาติที่เพิ่มขึ้น
- ASEAN Seaport Interdiction Task Force (ASITF) ซึ่งมีบทบาทเป็นเวทีในการยกระดับ
ปฏิบัติการและการสืบสวนสอบสวนร่วมกันระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
ของอาเซียนเกี่ยวกับการลักลอบขนยาเสพติดผ่านท่าเรือนานาชาติและจุดตรวจทางน้ำที่เพิ่มขึ้น
- ASEAN Narcotics Cooperation Center (ASEAN - NARCO) ซึ่งมีบทบาทเป็นเวที
สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปราบปรามยาเสพติดของอาเซียนที่จะติดต่อประสาน
งานกันในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาฐานข้อมูลกิจกรรม
ต่อต้านยาเสพติดของเหล่ารัฐสมาชิกอาเซียน
(๒.๘) ที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค
เอเชีย - แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum (ARF))
ที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย -
แปซิฟิก เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๙๔ (พ.ศ. ๒๕๓๗) โดยประเทศที่เข้าร่วมการประชุม
นอกจากประเทศสมาชิกอาเซียนแล้วยังรวมถึงประเทศหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย -
แปซิฟิกด้วย อาทิ ออสเตรเลีย บังกลาเทศ แคนาดา เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ สหภาพยุโรป อินเดีย
ญี่ปุ่น มองโกเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกีนี รัสเซีย ศรีลังกา ติมอร์เลสเต้ และ
สหรัฐอเมริกา
ผู้รับผิดชอบ : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
บทบาทและทิศทางการทำงาน : เพื่อสนับสนุนการเจรจาหารืออย่างสร้างสรรค์ในประเด็น
เกี่ยวกับความมั่นคงและการเมืองบนฐานของผลประโยชน์และข้อกังวลร่วมกัน รวมถึงเป็นความพยายาม
ที่จะสร้างความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy)
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ที่ประชุมฯ มีผลงานการรักษาสันติภาพ ความมั่นคง และความร่วมมือในภูมิภาคในหลาย
หลายมิติ อาทิในประการสำคัญ คือ
-
การทำหน้าที่เป็นที่เจรจาหารือทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมถึงได้สร้างหลักการดำเนินการ
เพื่อให้การหารือและการร่วมมือกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นกระบวนการตัดสินใจ
โดยหลักฉันทามติ การไม่แทรกแซง ความก้าวหน้าทางนโยบายและการดำเนินการในระดับที่
ทุกฝ่ายสบายใจ
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 167