Page 173 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 173

- ดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบกฎหมายภายในของ
                แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนโดยมีผลผลิตเป็นโครงการหรือแผนงานซึ่งเป็นความคิดริเริ่มต่าง ๆ
                มากมาย

                     - การพัฒนากรอบกฎหมายในระดับภูมิภาค ซึ่งได้แก่ การประชุมเวทีระดมความคิดเห็น
                ทางกฎหมายของกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN Law Forum) เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความเห็น
                เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนากรอบกฎหมายสำคัญสำหรับภูมิภาคซึ่งเป็นประเด็นใหม่ที่ประเทศสมาชิก
                ยังขาดความรู้ความเข้าใจและมีความเห็นแตกต่างกัน รวมถึงการจัดทำสนธิสัญญาหรือร่าง
                สนธิสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ สนธิสัญญาว่าด้วยการให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่อง
                ทางอาญา ค.ศ. ๒๐๐๔ (ASEAN-MLAT) แม่แบบสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนอาเซียน (Model
                ASEAN Extradition Treaty) สนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางศาล
                ในคดีแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายแม่แบบว่าด้วยความมั่นคงทางทะเล ความตกลงอาเซียนว่าด้วย
                การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชายฝั่งและสิ่งแวดล้อมทางทะเล เป็นต้น

                     - การพยายามปรับปรุงกฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนบางมิติให้มีความสอดคล้องกัน
                (Harmonization of Laws) อาทิ การปรับปรุงกฎหมายการค้าของประเทศสมาชิกให้มีความ
                สอดคล้องกัน การพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวกับการค้าเสรีให้มีความสอดคล้องกัน เป็นต้น
                


  (๒.๓) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Ministerial
                Meeting on Transnational Crime (AMMTC))
                     ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ มีที่มาจากการประชุมสุดยอดอาเซียน
                ครั้งที่ ๕ ในปี ค.ศ. ๑๙๙๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ณ กรุงเทพฯ โดยได้เริ่มต้นมีขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๙๗

                (พ.ศ. ๒๕๔๐) โดยกำหนดให้มีการประชุมกันทุก ๆ ๒๔ เดือน (๒ ปี) ในระยะแรก และต่อมาในปี
                ค.ศ. ๒๐๑๗ (พ.ศ. ๒๕๖๐) จึงได้กำหนดให้มีการประชุมกันทุกปี
                

   ผู้รับผิดชอบ : ตั้งแต่การประชุม SOMTC ครั้งที่ ๓ รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ)
                ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติตามข้อเสนอของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้รัฐมนตรี
                ท่านหนึ่งท่านใดตามแต่นายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะของ AMMTC ทั้งนี้พบว่า ในการ
                ลงนามอนุสัญญาสำคัญภายใต้การประชุม AMMTC นั้น ผู้ลงนามในอนุสัญญาคือนายกรัฐมนตรี
                

   บทบาทและทิศทางการทำงาน : เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกและหน่วยงานในการกำกับนโยบาย
                ของอาเซียนในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเป็นที่ประชุมร่วมของประเทศคู่เจรจาและ
                ผู้แทนจากองค์กรต่าง ๆ เพื่อร่วมกันกำหนดนโยบายแนวทางแผนปฏิบัติการป้องกันปราบปราม

                อาชญากรรมข้ามชาติในภาพรวมของอาเซียน และเพื่อติดตามผลการดำเนินงานที่ผู้นำและ
                ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีได้วางแนวทางไว้  รวมถึงเพิ่มพูนการร่วมกันต่อต้านยาเสพติดและ
                การลักลอบค้ายาเสพติดโดยเน้นพิเศษในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการเผยแพร่ข่าวสาร
                เพื่อสร้างสรรค์ให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติด
                     แนวทางการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีมติรับรองอนุสัญญาสำคัญ ๒ ฉบับ คือ
                อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN Convention on Counter
                Terrorism) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศให้สัตยาบันอนุสัญญา

                ดังกล่าวในปี ค.ศ. ๒๐๐๗ (พ.ศ. ๒๕๕๐) และอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์




                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  163
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178