Page 168 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 168

ค. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community
          (ASCC))
                แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ค.ศ. ๒๐๒๕ เป็นหัวใจสำคัญ

          ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการถือเป็นพันธกิจของประชาคมอาเซียนที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมือง
          อาเซียนด้วยกิจกรรมความร่วมมือซึ่งเน้นไปที่ตัวคน มีคนเป็นศูนย์กลาง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
          และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนไปพร้อม ๆ กับการเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ ๆ ของอาเซียน
                เนื่องจากลักษณะทางภูมิรัฐศาสตร์ (Political Geography) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก
          เฉียงใต้นั้นประกอบไปด้วยภูมิประเทศที่มีความหลากหลาย ทั้งที่เป็นแผ่นดินเชื่อมกันและหมู่เกาะ
          ที่แยกห่างกันออกไป รวมถึงผลจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ทำให้ทั้งวิถีชีวิต
          ความเชื่อ และวัฒนธรรมของผู้คนในภูมิภาคมีความแตกต่างหลากหลายกันเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็น
          ลักษณะที่แตกต่างอย่างชัดเจนกับกรณีของกลุ่มประเทศในยุโรปที่ไม่ได้มีความแตกต่างในระดับนี้
          และโดยลักษณะของความหลากหลายนี้เอง ความท้าทายที่อาเซียนต้องเผชิญจึงมีความซับซ้อนเป็น

          อย่างมาก ทำให้เป้าประสงค์ของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนจึงมุ่งไปที่ความพยายาม
          ที่จะให้ประชาชนทั้งหลายนั้นได้รับประโยชน์ต่าง ๆ ให้มากที่สุดจากการที่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง
          ของการเป็นพลเมืองประชาคมอาเซียน
                                                                              ๑๒
          
     ดังนี้ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนจึงมีกรอบการทำงานในด้านต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้
                  (๑)  การพัฒนามนุษย์
                  (๒)  การให้หลักประกันด้านสวัสดิการและความปลอดภัยทางสังคม
                  (๓)  การส่งเสริมสิทธิและความยุติธรรมในสังคม

                  (๔)  การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน
                  (๕)  การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
                  (๖)  การลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและช่องว่างการพัฒนาของรัฐสมาชิก


                              III. การประชุมขององค์กรเกี่ยวกับด้านกฎหมาย

          ๑. ภาพรวมการประชุมขององค์กรเกี่ยวกับด้านกฎหมาย
                ภายใต้เสาหลักของประชาคมอาเซียนทั้ง ๓ ด้าน คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
          อาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ดังกล่าว
          โดยละเอียดแล้วข้างต้นนั้น กรอบการประชุมขององค์กรเกี่ยวกับกฎหมาย แม้จะมีความเกี่ยวข้อง

          และมีผลกระทบต่อกรอบการดำเนินการของทั้ง ๓ เสาหลักก็ตาม แต่ก็ได้รับการพิจารณาว่า
          มีความเกี่ยวข้องเป็นหลักและถูกกำหนดไว้ภายใต้โครงสร้างของเสาหลักประชาคมการเมืองและ
          ความมั่นคงอาเซียน ๑๓




          ๑๒  ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint, ๑ March ๒๐๐๙
          ๑๓  ASEAN Charter, ๑๕ December ๒๐๐๘, Annex I



              158   บทความ
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173