Page 166 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 166

และต้องการเสถียรภาพในการสร้างชาติของตนก็ตาม ความร่วมมือในมิติทางการเมืองและ
          ความมั่นคงภายใต้กรอบของอาเซียนนั้นก็ล้วนแต่เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งในการบรรลุ
          วัตถุประสงค์ทั้งหลายดังกล่าวนั้น ด้วยเหตุนี้ ในการกำหนดโครงสร้างของประชาคมอาเซียนภายใต้

          ปฏิญญาเซบูและกฎบัตรอาเซียนนั้น เหล่าผู้นำรัฐสมาชิกอาเซียนจึงได้ร่วมกันจัดตั้งโครงสร้างใน
          ส่วนของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political - Security Community
          (APSC)) ขึ้น
                ภายใต้บริบทดังกล่าวข้างต้น ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจึงมีวัตถุประสงค์
          หลักมุ่งที่จะก่อให้เกิดสันติภาพระหว่างรัฐสมาชิกในภูมิภาค โดยภายใต้ประชาคมการเมืองและ
          ความมั่นคงนี้  รัฐสมาชิกต่างตกลงที่จะอยู่ภายใต้กระบวนการโดยสันติในด้านการจัดการ
          ความแตกต่างภายในภูมิภาค ยึดถือความเคารพในประเด็นความมั่นคงของรัฐสมาชิกอื่นเป็นพื้นฐาน
          ความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน และยึดมั่นในเขตที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ วิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์
          ซึ่งมีร่วมกันดังนี้ องค์ประกอบหลักของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจึงได้แก่หลักการ

          ต่อไปนี้ คือ การพัฒนาทางการเมือง การสร้างและใช้บรรทัดฐานต่าง ๆ ร่วมกัน การป้องกันและ
          แก้ไขความขัดแย้ง การสร้างสันติภายหลังความขัดแย้ง และการปรับใช้กลไกต่าง ๆ เพื่อสนับสนุน
          หลักการเหล่านั้น
                การดำเนินการของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนนั้น ได้ถูกกำหนดแนวทางไว้
          ตามเอกสาร แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political -
                                          ๘
          Security Community Blueprint)  ซึ่งเหล่าผู้นำรัฐสมาชิกอาเซียนได้รับเป็นแนวทางปฏิบัติ
          ในการประชุมสุดยอด (ASEAN Summit) ครั้งที่ ๑๔ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ณ ชะอำ - หัวหิน

          ราชอาณาจักรไทย โดยตามแผนงานการจัดตั้งดังกล่าว มุ่งที่จะก่อให้เกิดประชาคมด้านการเมือง
          และความมั่นคงในหมู่รัฐสมาชิกอาเซียนภายในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ (พ.ศ. ๒๕๕๘) โดยได้กำหนด
          คุณลักษณะเป้าหมายและองค์ประกอบของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนไว้ใน
                   ๙
          ด้านต่าง ๆ  อันได้แก่
                  (๑)  ให้เป็นประชาคมที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ซึ่งมีค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน
                  (๒)  ให้เป็นภูมิภาคที่มีความเหนียวแน่น สันติ ปรับตัวได้ และมีความรับผิดชอบร่วมกัน
          ด้านความมั่นคงอย่างเบ็ดเสร็จ
                  (๓)  ให้เป็นภูมิภาคที่มีพลวัตและใส่ใจบริบทภายนอกในโลกที่บูรณาการและพึ่งพิง
          ซึ่งกันและกันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                อย่างไรก็ดี แผนงานการจัดตั้งดังกล่าวก็ยังคงเปิดช่องไว้สำหรับการยืดหยุ่นในการดำเนิน
          โครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ในภูมิภาคต่อไปได้ภายหลังปี ค.ศ. ๒๐๑๕ (พ.ศ. ๒๕๕๘) ทั้งนี้ เพื่อ
          แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและการก้าวไปสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนอย่างมี
          คุณภาพ





          ๘  ASEAN Political-Security Community Blueprint, ๑ March ๒๐๐๙
          ๙  อ้างแล้ว



              156   บทความ
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171