Page 167 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 167
ข. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community (AEC))
การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ (พ.ศ. ๒๕๕๘) เป็นย่างก้าวใหญ่
ที่สำคัญที่สุดขั้นตอนหนึ่งของการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งการรวมเป็นตลาดเดียวของ
อาเซียนนี้จะก่อให้เกิดตลาดใหญ่ที่มีมูลค่ากว่า ๑๐ ล้านล้านบาทและมีประชากรผู้บริโภคกว่า
๖๒๐ ล้านคน โดยในปี ค.ศ. ๒๐๑๔ (พ.ศ. ๒๕๕๗) ตลาดของรัฐสมาชิกอาเซียนรวมกันมีขนาดใหญ่
เป็นอันดับสามของเอเชียและอันดับเจ็ดของโลก
ปัจจุบัน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอยู่ภายใต้แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน ค.ศ. ๒๐๒๕ (ASEAN Economic Community Blueprint ๒๐๒๕) ซึ่งประเทศสมาชิกได้
th
ร่วมกันจัดทำและร่วมลงนามในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๒๗ (๒๗ ASEAN Summit)
เมื่อวันที่ ๒๑ - ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยแผนงาน
การจัดตั้ง ค.ศ. ๒๐๒๕ นี้ ได้กำหนดทิศทาง ๑๐ ปี ถัดไปจากแผนงานการจัดตั้งฉบับเดิมคือ
ฉบับ ค.ศ. ๒๐๑๕ (AEC Blueprint ๒๐๑๕) เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องโดยจากเดิมที่แผนงาน
การจัดตั้งปี ค.ศ. ๒๐๑๕ มุ่งไปที่ ๔ วัตถุประสงค์หลัก คือ
๑๐
(๑) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
(๒) การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
(๓) การเป็นภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
(๔) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
แผนงานการจัดตั้ง ปี ค.ศ. ๒๐๒๕ ได้กำหนดทิศทางการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนในอีก
๑๐ ปี ต่อไปโดยกำหนด ๕ เป้าประสงค์ คือ
๑๑
(๑) การเป็นเศรษฐกิจที่มีการรวมตัวและเชื่อมโยงในระดับสูง
(๒) การมีความสามารถในการแข่งขัน มีนวัตกรรม และมีพลวัต
(๓) ส่งเสริมการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและการรวมตัวของรายสาขา
(๔) ความสามารถในการปรับตัว ครอบคลุมทุกภาคส่วน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
(๕) การเป็นส่วนสำคัญของประชาคมโลก
ทั้งนี้ พัฒนาการของการรวมตัวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตามแผนงานการจัดตั้ง
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ค.ศ. ๒๐๒๕ นั้น จะมีการรายงานผ่านเอกสาร บทสรุปการรวมกลุ่ม
ทางเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Integration Brief(AEIB)) อยู่เป็นระยะ ๆ
โดยฉบับล่าสุดคือ ฉบับที่ ๔ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ (No.๔ November ๒๐๑๘)
นอกจากนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ ๕๐ (๕๐th ASEAN Economic
Ministers (AEM)) เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๑ นั้น ยังได้มีการจัดทำแนวทางหลักปฏิบัติที่ดีด้าน
กฎระเบียบและหลักการสำคัญของอาเซียน (ASEAN Good Regulatory Practice (GRP) Core
Principles) ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่รัฐสมาชิกซึ่งต่อมาเอกสารดังกล่าวก็ได้รับการรับรอง
โดยคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ตามลำดับ
๑๐ เดชชัย กุลวงศ์. “AEC Blueprint ๒๐๑๕ และ AEC Blueprint ๒๐๒๕.” สศค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง,
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ; ASEAN Economic Community Blueprint, ๑ March ๒๐๐๙
๑๑ อ้างแล้ว
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 157