Page 172 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 172
- ระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศกฎหมายอาเซียน (ASEAN Legal Information
Network System)
- การสัมมนาเจ้าหน้าที่กฎหมายอาเซียน (ASEAN Government Law Officers
Programs)
- แม่แบบสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนอาเซียน (Model ASEAN Extradition Treaty)
- กฎหมายและสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของรัฐสมาชิกอาเซียน
(ASEAN Member States’ related Laws and Treaties on Extradition)
นอกจากนี้ ที่ประชุม ALAWMM ยังเคยเป็นที่ประชุมหลักในการพิจารณาจัดทำร่างสนธิสัญญา
ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาในภูมิภาคอาเซียน (Treaty on
Mutual Legal Assistance in Criminal Matters (ASEAN - MLAT)) รวมถึงรับผิดชอบ
การดำเนินการที่เกี่ยวข้องด้วยโดยผ่านกลไกของที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านกฎหมาย
(ASLOM) แต่ต่อมาในปี ค.ศ. ๒๐๑๙ (พ.ศ. ๒๕๖๒) ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตาม
สนธิสัญญา ASEAN - MLAT ดังกล่าวได้แยกออกมาเป็นประชุมอัยการสูงสุด/รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม
และรัฐมนตรีกฎหมายว่าด้วยสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องอาญา (ASEAN
Ministers / Attorneys - General Meeting of the Central Authorities on Mutual Legal
Assistance in Criminal Matters (AMAG - MLAT)) และที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยสนธิ
สัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องอาญา (Senior Official’s of the Central
Authorities Meeting on Mutual Legal Assistance in Criminal Matters (SOM-MLAT))
ตามลำดับ
(๒.๒) ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านกฎหมาย (ASEAN Senior Law Officials
Meetings (ASLOM))
ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านกฎหมาย เริ่มต้นมีขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๘๖
(พ.ศ. ๒๕๒๙) โดยกำหนดให้มีการประชุมกันทุก ๆ ๒๔ เดือน (๒ ปี) ต่อมาในการประชุม ASLOM
th
ครั้งที่ ๑๘ (๑๘ ASEAN Senior Law Officials Meeting (ASLOM)) ณ สาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปี ค.ศ. ๒๐๑๘ (พ.ศ. ๒๕๖๑) ประเทศไทยได้เสนอให้เพิ่มความถี่
ของที่ประชุมมากขึ้นเป็นทุก ๑๒ เดือน (๑ ปี) ซึ่งที่ประชุมได้รับหลักการ แต่สมาชิกยังขอเวลากลับ
ไปพิจารณาและปัจจุบันยังมิได้มีการลงมติเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าว
ผู้รับผิดชอบ : เจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทรวงยุติธรรมซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมอบหมาย
บทบาทและทิศทางการทำงาน:เพื่อสนับสนุนที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย
(ALAWMM) ในการทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับด้านกฎหมายของอาเซียนตามภารกิจของที่ประชุมโดย
ASLOM จะเป็นที่ประชุมหลักและฝ่ายปฏิบัติการในการพิจารณาจัดทำแนวทางร่วมมือและผลักดัน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการรองรับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้มาก
ขึ้นด้วย
ที่ประชุม ASLOM จะมีสถานะเป็นผู้พิจารณาในเชิงปฏิบัติการในรายละเอียดก่อนรวบรวม
สรุปเพื่อเสนอต่อที่ประชุม ALAWMM เพื่อทำการตัดสินใจในประเด็นที่เป็นสาระสำคัญต่อไป โดยที่
ผ่านมาการดำเนินการของ ASLOM อาจกล่าวได้โดยสรุป ดังนี้
162 บทความ