Page 175 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 175
- SOMTC Working Group on Cybercrime (SOMTC WG on CC)
- SOMTC Working Group on Arms Smuggling (SOMTC WG on AS)
- SOMTC Working Group on Illicit Trafficking of Wildlife and Timber (SOMTC
WG on ITWT)
- Heads of Specialist Trafficking Units (HSU)
โดยในคณะทำงานต่าง ๆ จะได้มีการจัดทำข้อกำหนดคณะทำงาน (Term of Reference) และ
ข้อมูลการติดต่อ (Directory) ของตนขึ้นเพื่อใช้ในการทำงานร่วมกัน
(๒.๕) ที่ประชุมผู้อำนวยการกรมการตรวจคนเข้าเมืองและหัวหน้ากองการกงสุลของ
กระทรวงต่างประเทศ (Directors - General of Immigration Departments and Heads
of Consular Affairs Divisions of Ministries of Foreign Affairs Meeting (DGICM))
ที่ประชุมผู้อำนวยการกรมการตรวจคนเข้าเมืองและหัวหน้ากองการกงสุลของกระทรวงต่างประเทศ
เริ่มต้นมีขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๙๖ (พ.ศ. ๒๕๓๙) โดยกำหนดให้มีการประชุมกันทุก ๆ ๑ ปี
ผู้รับผิดชอบ : ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และอธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการ
ต่างประเทศ
บทบาทและทิศทางการทำงาน : เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกและเวทีในการกำหนดนโยบายและ
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางด้านการตรวจคนเข้าเมืองระหว่างรัฐสมาชิกของอาเซียน นอกจากนี้
ยังเป็นที่ประชุมร่วมกันของประเทศสมาชิกในด้านที่เกี่ยวกับการตรวจคนเข้าเมืองและพิธีการกงสุล
รวมถึงเพื่อติดตามผลการดำเนินการตามที่ประชุมได้วางแนวทางไว้
(๒.๖) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยเรื่องยาเสพติด (ASEAN Ministerial Meeting
on Drug Matters (AMMD))
ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยเรื่องยาเสพติดได้เริ่มต้นมีขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๒๐๑๒
(พ.ศ. ๒๕๕๕) โดยมีที่มาจากการร่างลงนามของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในปฏิญญาร่วม
สำหรับการเป็นเขตปลอดยาเสพติดอาเซียนภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ (พ.ศ. ๒๕๖๓) แต่ที่ประชุมฯ
เพิ่งจะได้กำหนดให้มีความเป็นสถาบัน (Institutionalised) ขึ้นในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ (พ.ศ. ๒๕๕๘)
โดยกำหนดให้มีการประชุมกันทุกปีในระยะแรก และต่อมาในปี ค.ศ. ๒๐๑๖ (พ.ศ. ๒๕๕๙)
จึงได้กำหนดให้มีการประชุมกันทุกสองปี
ผู้รับผิดชอบ : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
บทบาทและทิศทางการทำงาน : เพื่อส่งเสริมบทบาทในการวางยุทธศาสตร์การเป็นเขต
ปลอดยาเสพติดอาเซียนและเสริมสร้างความร่วมมือในประเด็นคาบเกี่ยวที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ที่จะขจัดการผลิต ขบวนการแปรรูป การลักลอบค้า และการใช้ยาเสพติดที่ผิดกฎหมายในภูมิภาคอาเซียน
การดำเนินงานของที่ประชุมฯ จะรับช่วงภารกิจต่อมาจากที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านยาเสพติด
อาเซียน (ASEAN Drug Expert Meeting) ซึ่งเมื่อได้ริเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๖ (พ.ศ. ๒๕๑๙)
และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนว่าด้วยเรื่องยาเสพติด (ASEAN Senior
Officials on Drug Matters (ASOD)) โดยเมื่อได้จัดตั้งที่ประชุม AMMD ขึ้น ที่ประชุมได้รับ
มอบเอาที่ประชุม ASOD มาอยู่ภายใต้ร่มธงของตนและได้รวมเอาผลการดำเนินการต่าง ๆ
มาดำเนินการต่อและคอยกำกับให้แนวทาง ASOD ในการดำเนินการด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็น
ยาเสพติดที่อาเซียนให้ความสนใจต่อไป
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 165