Page 174 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 174
โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ASEAN Convention Against Trafficking on Persons, Especially
Women and Children) ซึ่งนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย
ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวเป็นประเทศที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๑๖ (พ.ศ. ๒๕๕๙)
ที่ประชุมยังได้มีการร่วมลงนามในคำประกาศ (Declarations) และแถลงการณ์ (Statements)
ในหลายประเด็น และเกี่ยวกับแผนงานในอนาคตนั้น ที่ประชุมได้มีการกำหนดแผนปฏิบัติการณ์
(Plan of Actions) แนวทางดำเนินการ (Guidelines) และแผนงาน (Work Plans) ไว้อีกจำนวน
มาก ซึ่งประเด็นที่ที่ประชุมให้ความสนใจนั้นอาจแบ่งเป็นประเด็นหลัก ๆ คือ อาชญากรรมข้ามชาติ
(Transnational Crime) การต่อต้านการก่อการร้าย (Counter Terrorism) การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน
กรณีไม่ปกติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Irregular Movement of Persons in
Southeast Asia) ขบวนการผู้ยึดถือทางสายกลางระดับโลก (Global Movement of
Moderates) การต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงและเด็ก (Against Traffickingin
Persons Particularly Women and Children) การต่อต้านการเพิ่มขึ้นของลัทธินิยมความรุนแรง
และกลุ่มคนหัวรุนแรง (Counter the Rise of Radicalisation and Violent Extremism)
(๒.๔) ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ (Senior Officials
Meeting on Transnational Crime (SOMTC))
ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ มีที่มาจากการประชุมสุดยอด
อาเซียน ครั้งที่ ๕ ในปี ค.ศ. ๑๙๙๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ณ กรุงเทพฯ โดยได้เริ่มต้นมีขึ้นครั้งแรกในปี
ค.ศ. ๑๙๙๗ (พ.ศ. ๒๕๔๐) โดยกำหนดให้มีการประชุมกันทุก ๆ ปี
ผู้รับผิดชอบ : ตั้งแต่การประชุม SOMTC ครั้งที่ ๓ รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ)
ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติตามข้อเสนอของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เลขาธิการ
สภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหัวหน้าคณะของ SOMTC ต่อมา ในบางครั้งได้มีการมอบหมายให้กับ
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนต่างกันไป
ตามแต่ละรัฐบาล
บทบาทและทิศทางการทำงาน : เพื่อสนับสนุนที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรม
ข้ามชาติ (AMMTC) ในการทำหน้าที่เป็นกลไกและหน่วยงานในการกำกับนโยบายของอาเซียนใน
การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
ที่ประชุม SOMTC จะมีลักษณะเป็นที่ประชุมที่ดำเนินการด้านปฏิบัติในรายละเอียดของ
AMMTC โดยจะเน้นไปในมิติของด้านอาชญากรรมข้ามชาติซึ่งอาเซียนให้ความสนใจเป็นหลัก ซึ่งจะ
แตกต่างจาก ที่ประชุมผู้อำนวยการกรมการตรวจคนเข้าเมืองและหัวหน้ากองการกงสุลของ
กระทรวงการต่างประเทศ (Directors-General of Immigration Departments and Heads of
Consular Affairs Divisions of Ministries of Foreign Affairs Meeting (DGICM)) ซึ่งแม้จะอยู่
ภายใต้ร่มธงของ AMMTC เช่นกัน แต่จะเน้นในด้านการย้ายถิ่นฐานและการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดน
(Immigration / Movement) เป็นหลัก โดยที่ประชุม SOMTC จะมีการแบ่งเป็นคณะทำงาน
(Working Group) กลุ่มต่าง ๆ ในประเด็นสำคัญ ดังนี้
- SOMTC Working Group on Trafficking in Persons (SOMTC WG on TIP)
- SOMTC Working Group on Counter Terrorism (SOMTC WG on CT)
164 บทความ