Page 170 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 170

(๘)  ที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย -
          แปซิฟิก / ASEAN Regional Forum (ARF)
                อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า การประชุมขององค์กรเกี่ยวกับกฎหมายของอาเซียนบางส่วน

          อันได้แก่ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องอาญา
          (Meeting of Senior Officials on the Treaty on Mutual Legal Assistance in Criminal
          Matters) และที่ประชุมอัยการสูงสุด/รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีกฎหมายว่าด้วยสนธิ
          สัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องอาญา (Meeting of Attorneys - General /
          Ministers of Justice and Minister of Law on the Treaty on Mutual Legal Assistance in
          Criminal Matters) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๒ - ๒๕ เมษายน ๒๕๖๒
          ตามข้อเสนอของไทย (ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด) เป็นที่ประชุมอัยการสูงสุด/รัฐมนตรีของ
          ผู้ประสานงานกลางด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องอาญา (ASEAN Ministers /
          Attorneys - General Meeting of the Central Authorities on Mutual Legal Assistance

          in Criminal Matters (AMAG - MLAT)) และที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของผู้ประสานงานกลาง
          ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องอาญา (Senior Officials’ Meeting of the Central
                                                                                         ๑๖
          Authorities On Mutual Legal Assistance in Criminal Matters (SOM-MLAT)) ตามลำดับ
          และเป็นการประชุมที่อยู่ภายใต้ขอบข่ายความรับผิดชอบของสำนักงานอัยการสูงสุดเนื่องจาก
          อัยการสูงสุดมีสถานะเป็นผู้ประสานงานกลาง (Central Authority) นั้น เพิ่งได้รับการยกระดับขึ้นเป็น
          “องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา” (ASEAN Sectoral Ministrial Bodies) และ
          “เจ้าหน้าที่อาวุโสและองค์กรย่อยที่เกี่ยวข้องในขอบข่ายการดำเนินงานของตน” (Relevant

          senior officials and subsidiary bodies) ตามกฎบัตรอาเซียน หมวดที่ ๔ ข้อ ๑๐ ดังกล่าว
          ซึ่งจะมีผลทำให้การประชุมดังกล่าวจากเดิมที่ยังไม่ได้รับการรับรองสถานะอย่างเป็นทางการ
          โดยอาเซียนและไม่มีระบุไว้ในปฏิทินประมาณการของอาเซียน (Notional Calendar) แต่อย่างใด
          แม้การประชุมจะมีสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) เป็นเจ้าภาพก็ตามได้กลายเป็น
          โครงสร้างที่ภายใต้เสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political -
          Security Community (APSC)) ตามภาคผนวก ๑ ของกฎบัตรอาเซียนอย่างเป็นทางการ  ๑๗
                นอกจากนี้ องค์กรเกี่ยวกับด้านกฎหมายบางส่วนก็อาจเป็นโครงสร้างส่วนอื่นของอาเซียน
          ที่อยู่นอกเหนือจากองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectoral Ministrial
          Bodies) และเจ้าหน้าที่อาวุโสและองค์กรย่อยที่เกี่ยวข้องในขอบข่ายการดำเนินงานของตน

          (Relevant senior officials and subsidiary bodies) ด้วย อาทิ คณะกรรมาธิการระหว่าง
          รัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human

          ๑๖  การประชุม Meeting of Senior Officials on the Treaty on Mutual Legal Assistance in Criminal Matters และ
            Meeting of Attorneys-General / Ministers of Justice and Minister of Law on the Treaty on Mutual Legal
            Assistance in  Criminal Matters เมื่อวันที่ ๒๒ - ๒๕ เมษายน ๒๕๖๒ มีมติให้ยกระดับการประชุมทั้งสองข้างต้นและ
            บรรจุเพิ่มไปใน ภาคผนวก ๑ ของกฎบัตรอาเซียนแล้ว เพื่อให้มีสถานะได้รับการรับรองตามกฎบัตรอาเซียนอย่างเป็นทางการ
            ซึ่งมติดังกล่าวได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๔ ณ กรุงเทพฯ วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๒
            รายละเอียดปรากฏตามเอกสาร Chairman’s Statement of the 34  ASEAN Summit, Bangkok, ๒๓ June ๒๐๑๙
                                                       th
          ๑๗  ASEAN Charter, ๑๕ December ๒๐๐๘, Annex I



              160   บทความ
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175