Page 171 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 171

Rights : AICHR) เป็นต้นและองค์กรด้านกฎหมายบางส่วน อาจจะไม่ได้มีสถานะภายใต้โครงสร้าง
                ของอาเซียนโดยแท้ แต่เป็นเพียงองค์กรภายนอกที่มีความสัมพันธ์สนับสนุนการดำเนินงานของ
                อาเซียน หรือ “องคภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน” (Entities Associated with ASEAN) ตาม

                กฎบัตรอาเซียน ข้อ ๑๖ ประกอบภาคผนวก ๒ เท่านั้น อาทิ ที่ประชุมอธิบดีกรมตำรวจอาเซียน
                (ASEANAPOL) สมาคมกฎหมายอาเซียน (ASEAN Law Association) สภาประธานศาลสูงสุด
                อาเซียน (Council of ASEAN Chief Justices) เป็นต้น ๑๘

                ๒. วัตถุประสงค์ บทบาท อำนาจหน้าที่ และทิศทางการทำงาน
                
    (๒.๑) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย (ASEAN Law Ministers Meeting
                (ALAWMM))
                     ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย เริ่มต้นมีขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๘๖ (พ.ศ. ๒๕๒๙)
                โดยกำหนดให้มีการประชุมกันทุก ๆ ๓๖ เดือน (๓ ปี) ต่อมาในการประชุม ALAWMM ครั้งที่ ๙

                  th
                (๙  ASEAN Law Ministers Meeting (ALAWMM)) ในปี ค.ศ. ๒๐๑๘ (พ.ศ. ๒๕๖๑)
                ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศไทยได้เสนอให้เพิ่มความถี่ของที่ประชุมมากขึ้น
                เป็นทุก ๒๔ เดือน (๒ ปี) ซึ่งที่ประชุมได้รับหลักการ แต่สมาชิกยังขอเวลากลับไปพิจารณาและ
                ปัจจุบันยังมิได้มีการลงมติเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าว
                
    ผู้รับผิดชอบ : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
                
    บทบาทและทิศทางการทำงาน : เพื่อยกระดับความเข้าใจซึ่งกันและกันในระบบกฎหมาย
                ของแต่ละประเทศสมาชิก โดยการให้ความร่วมมือในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกฎหมายภายใน

                ของประเทศสมาชิกอาเซียนและจัดทำรายงานเผยแพร่ ส่งเสริมการพัฒนาและยกระดับมาตรฐาน
                ระบบกฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงให้การสนับสนุนความร่วมมือในด้านการฝึกอบรม
                การศึกษา และแลกเปลี่ยนดูงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านกฎหมาย
                ของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ประชุมยังถูกคาดหวังให้เป็นแหล่งระบบข้อมูลทางกฎหมายอาเซียน
                (ASEAN Legal Information System) ซึ่งสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ ด้านกฎหมายให้แก่ประเทศสมาชิก
                โดยทั่วถึงกันด้วย
                     แนวทางการดำเนินการที่ผ่านมานั้น นอกเหนือจากด้านการส่งเสริมการค้นคว้าพัฒนาระบบ
                กฎหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานระบบกฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ที่ประชุมยังได้มี
                การรับรองและจัดทำกลไกเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางกฎหมายสำคัญเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับ

                กฎหมายภายในของประเทศสมาชิกอาเซียน คือ
                     -  นามสงเคราะห์หน่วยงานกฎหมายอาเซียน (ASEAN Government Law Directory)
                ซึ่งจัดพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๙๙ (พ.ศ. ๒๕๔๒) และจะมีการปรับปรุงทุก ๆ ๓ ปี
                     - ผู้ประสานข้อมูลสารสนเทศกฎหมายอาเซียน (ASEAN Legal Information Authority
                (ALIA)) เป็นความคิดริเริ่มที่จะกำหนดเจ้าหน้าที่ระดับสูงในแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อเป็นผู้ประสาน
                ในการร้องขอหรือดำเนินการตามคำร้องขอข้อมูลกฎหมายระหว่างประเทศสมาชิก



                ๑๘  ASEAN Charter, ๑๕ December ๒๐๐๘, Article ๑๖, Annex II




                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  161
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176