Page 178 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 178
- ความยินยอมของผู้เข้าร่วมประชุม ARF ทุกฝ่ายที่จะปรึกษาหารือกันถึงประเด็นด้าน
ความมั่นคงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
- การสร้างความมั่นใจระหว่างกันอย่างค่อยเป็นค่อยไปในกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ
- การรวบรวมพฤติกรรมบรรทัดฐานต่าง ๆ ในการปรึกษาหารือประเด็นด้านการเมืองและ
ความมั่นคง
- การส่งเสริมความโปร่งใสโดยกระบวนการต่าง ๆ ของ ARF ด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายการป้องกันประเทศและการตีพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่
-
การพัฒนาเครือข่ายระหว่างเจ้าหน้าที่กลาโหม ฝ่ายความมั่นคง และฝ่ายที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
การป้องกันประเทศของประเทศผู้เข้าร่วม ARF
(๒.๙) ที่ประชุมอัยการสูงสุด/รัฐมนตรีของผู้ประสานงานกลางด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
ในเรื่องทางอาญา (ASEAN Ministers/Attorneys - General Meeting of the Central
Authorities on Mutual Legal Assistance in Criminal Matters (AMAG - MLAT))
ที่ประชุมอัยการสูงสุด/รัฐมนตรีของผู้ประสานงานกลางด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
ในเรื่องอาญา (AMAG - MLAT) ได้เริ่มต้นมีขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. ๒๐๑๙ (พ.ศ. ๒๕๖๒)
โดยมีที่มาจากที่ประชุมอัยการสูงสุด/รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีกฎหมายว่าด้วยสนธิ
สัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องอาญา (Meeting of Attorneys General/
Minister of Justice and Minister of Law on the Treaty on Mutual Legal Assistance in
Criminal Matters) ซึ่งมีที่มาจากมติของที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย (ALAWMM)
ครั้งที่ ๕ และที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านกฎหมาย (ASLOM) ครั้งที่ ๘ ซึ่งจัดขึ้นในปี
ค.ศ. ๒๐๐๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕) และได้เคยมีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการนอกเหนือโครงสร้างของ
อาเซียนมาแล้ว ๖ ครั้ง จนต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นดังปัจจุบันในการประชุมครั้งที่ ๖ ซึ่งมีขึ้นในปี
ค.ศ. ๒๐๑๙ (พ.ศ. ๒๕๖๒) พร้อมกับได้ถูกบรรจุเข้าเป็นการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
(ASEAN Sectoral Ministerial Bodies) ภายใต้ประชาคมความมั่นคงและการเมืองอย่างเป็น
ทางการ ตามภาคผนวก ๑ ของกฎบัตรอาเซียน ทั้งนี้ ได้กำหนดให้การประชุมครั้งถัดจากการ
ประชุมที่ไม่เป็นทางการครั้งที่ ๖ ที่จะมีขึ้นให้ถือเป็นการประชุมอย่างเป็นทางการของ AMAG -
MLAT ครั้งที่ ๑ โดยได้กำหนดให้มีการประชุม AMAG - MLAT ให้ได้อย่างน้อย ๑ ครั้งภายหลังการ
ประชุมของที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาทุก ๒ ครั้ง
หรือจัดให้ได้ต่อเมื่อจำเป็น
ผู้รับผิดชอบ : อัยการสูงสุด ในฐานะผู้ประสานงานกลาง
บทบาทและทิศทางการทำงาน : ในระยะแรก ที่ประชุมฯ ซึ่งยังเป็นที่ประชุมที่ไม่เป็น
ทางการนอกเหนือโครงสร้างของอาเซียนนั้นมีวัตถุประสงค์ในการหารือและจัดทำร่างสนธิสัญญาขึ้น
เพื่อให้สอดคล้องกับกลไกความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาของ
ประเทศสมาชิกอาเซียนตามประเด็นที่ประเทศสมาชิกเหล่านั้นเห็นพ้องต้องกัน โดยรวมถึงกลไก
ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งที่มีลักษณะเป็นทางการและไม่เป็นทางการที่ไม่กระทบถึงกลไก
ความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับสากลอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว อาทิ INTERPOL ทั้งนี้ เพื่อให้มีเครื่องมือ
ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ความร่วมมือระหว่างกันและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง
168 บทความ