Page 179 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 179

หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคงของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการ
                ร่วมกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ จนเมื่อผ่านการประชุมหลายครั้ง สนธิสัญญาว่าด้วย
                ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาในภูมิภาคอาเซียน (Treaty on Mutual Legal

                Assistance in Criminal Matters among like-minded ASEAN Member Countries) จึงได้
                ถูกจัดทำขึ้นและได้มีการลงนามให้สัตยาบันโดยประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่เห็นชอบด้วย
                เริ่มในปี ค.ศ. ๒๐๐๔ (พ.ศ. ๒๕๔๗) และได้มีการลงนามให้สัตยาบันเพิ่มเติมจนครบทุกประเทศ
                ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งหลังจากสนธิสัญญามีผลบังคับใช้แล้ว ที่ประชุมฯ ก็ได้มีบทบาท
                ในการพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผล ปัญหาและอุปสรรค ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ
                ตามสนธิสัญญาดังกล่าว อย่างไรก็ดี บทบาททั้งหมดที่กล่าวมานี้ในระยะแรกจนถึงการประชุม
                ครั้งที่ ๖ ในปี ค.ศ. ๒๐๑๙ (พ.ศ. ๒๕๖๒) นั้น โดยหลักการถือเป็นการประชุมที่อยู่นอกเหนือ
                โครงสร้างการทำงานที่เป็นทางการของอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
                จึงไม่ได้รับการรองรับภายใต้โครงสร้างของอาเซียนและไม่มีบันทึกแม้กระทั่งในปฏิทินประมาณการ

                ของอาเซียน (Notional Calendar) ดังนั้น ในการประชุมครั้งที่ ๖ ในปี ค.ศ. ๒๐๑๙ (พ.ศ. ๒๕๖๒)
                ณ ประเทศอินโดนีเซีย ที่ประชุมจึงได้มีมติเห็นชอบตามที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเกี่ยวกับสนธิ
                สัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องอาญา (Meeting of Senior Officials on
                the Treaty on Mutual Legal Assistance in Criminal Matters) ได้เสนอในการเปลี่ยนชื่อ
                การประชุมทั้งของที่ประชุมฯ เองและที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสดังกล่าวตามข้อเสนอของไทย
                (ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด) และยกระดับที่ประชุมฯ เข้าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้โครงสร้างของ
                อาเซียนอย่างเป็นทางการ โดยสังกัดอยู่ภายใต้โครงสร้างประชาคมความมั่นคงและการเมืองอาเซียน

                (ASEAN Political - Security Community) และเพิ่มเข้าไปยังภาคผนวก ๑ (Annex I)
                ของกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ โดยรับช่วงบทบาทของที่ประชุม
                อย่างไม่เป็นทางการในครั้งหลัง (ครั้งที่ ๖) ในด้านการพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผล
                ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือตามสนธิสัญญาดังกล่าว รวมถึงส่งเสริมพัฒนา
                ความร่วมมือตามสนธิสัญญาดังกล่าวให้มีดียิ่งขึ้นไป
                     ที่ประชุมฯ ดำเนินการในฐานะเป็นเวทีหารือของผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้รับการ
                แต่งตั้งเป็น “ผู้ประสานงานกลาง” (Central Authority) โดยประกอบไปด้วยผู้นำสูงสุดขององค์กร
                เกี่ยวกับกฎหมายของประเทศสมาชิกที่หลากหลาย อาทิ องค์การอัยการ กระทรวงยุติธรรม
                กระทรวงยุติธรรมและกฎหมาย  เป็นต้น  โดยระยะแรก  ที่ประชุมฯ  ได้มอบหมายให้

                ประเทศมาเลเซียเป็นสำนักเลขาธิการ (Secretariat) ของที่ประชุมฯ โดยได้มีการจัดทำ Official
                Portal of Secretariat for the Treaty on Mutual Legal Assistance in Criminal Matters
                among Like - minded ASEAN Member Countries เพื่อเป็นช่องทางออนไลน์อย่างเป็น
                ทางการของสมาชิกที่ประชุมฯ ในการให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
                ของผู้ประสานงานกลางแต่ละประเทศสมาชิก ต่อมาในปี ค.ศ. ๒๐๑๙ (พ.ศ. ๒๕๖๒) เมื่อได้มีการ
                เปลี่ยนชื่อการประชุมของที่ประชุมฯ และที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสดังกล่าว และยกระดับ
                ที่ประชุมฯ เข้าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้โครงสร้างของอาเซียนอย่างเป็นทางการภายใต้โครงสร้างประชาคม

                ความมั่นคงและการเมืองอาเซียน และเพิ่มเข้าไปยังภาคผนวก ๑ ของกฎบัตรอาเซียน แล้วที่




                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  169
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184