Page 188 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 188

บทบาทหน้าที่ของสำนักงานต่างประเทศนั้น จึงควรกำหนดให้มีการบูรณาการกับหน่วยงาน
          ภายในอื่น ๆ ของสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อการดำเนินการที่เป็นเอกภาพและมีความต่อเนื่องด้วย
          โดยขั้นต่ำที่สุด สำนักงานต่างประเทศควรได้รับทราบข้อมูลของการส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุม

          ในเวทีระหว่างประเทศของหน่วยงานภายในสำนักงานอัยการสูงสุดและข้อมูลว่าจะสามารถติดตาม
          สารัตถะการประชุมที่เกี่ยวข้องได้จากหน่วยงานภายในใดเมื่อจำเป็นต้องใช้ข้อมูลดังกล่าว
          

    (๓.๔) ที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค
          เอเชีย - แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum (ARF))
                จากการตรวจสอบฐานข้อมูลสำนวนที่ปรากฏของสำนักวิเทศสัมพันธ์ และศูนย์พันธกิจ
          ประชาคมอาเซียน สำนักงานต่างประเทศ พบว่าไม่ปรากฏการส่งผู้แทนเข้าประชุมของสำนักงาน
          อัยการสูงสุด ทั้งเมื่อพิจารณาทั้งเวทีดังกล่าวมีลักษณะเป็นที่ประชุมซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
          ต่างประเทศและฝ่ายความมั่นคง (หน่วยงานทหาร หน่วยงานรักษาความมั่นคงสาธารณะ ฯลฯ)
          แต่ละประเทศสมาชิกเป็นผู้มีบทบาทหลัก จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับบทบาทของสำนักงานอัยการ

          สูงสุดแต่อย่างใด
                ดังนั้น ท่าที (Position) ของสำนักงานอัยการสูงสุดต่อเวที ARF นั้น จึงเห็นควรคงท่าที
          เช่นที่เคยปฏิบัติไว้ คือไม่จำต้องส่งผู้แทนหรือผลักดันบทบาทของสำนักงานอัยการสูงสุดในเวที
          ดังกล่าวแต่อย่างใด
          

    (๓.๕) ที่ประชุมอัยการสูงสุด/รัฐมนตรีของผู้ประสานงานกลางด้านความร่วมมือระหว่าง
          ประเทศในเรื่องทางอาญา (ASEAN Ministers / Attorneys - General Meeting of the
          Central Authorities on Mutual Legal Assistance in Criminal Matters (AMAG -
          MLAT)) และที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของผู้ประสานงานกลางด้านความร่วมมือระหว่าง
          ประเทศในเรื่องอาญา (Senior Official’s of the Central Authorities Meeting on
          Mutual Legal Assistance in Criminal Matters (SOM - MLAT))

                จากการตรวจสอบฐานข้อมูลสำนวนที่ปรากฏของสำนักวิเทศสัมพันธ์ และศูนย์พันธกิจ
          ประชาคมอาเซียน  สำนักงานต่างประเทศ  รวมถึงพิจารณาบทบาทของที่ประชุมดังกล่าว
          ดังได้กล่าวถึงข้างต้น พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสำนักงานอัยการสูงสุดโดยตรง ในฐานะ
          ที่อัยการสูงสุดซึ่งเป็นผู้นำขององค์การนั้นได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ผู้ประสานงานกลาง” (Central
          Authority) อย่างไรก็ดีพบว่าที่ผ่านมา แม้สำนักงานอัยการสูงสุดจะส่งผู้แทนระดับต่าง ๆ เข้าร่วม
          ที่ประชุมแต่ละครั้งอย่างสม่ำเสมอ แต่ระดับชั้นของผู้แทนที่ส่งเข้าร่วมซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน
          โดยมากจะเป็นระดับชั้นอธิบดีอัยการหรือรองอธิบดีอัยการ โดยตามที่ตรวจพบจากสำนวน
          ในสารบบมีเพียง ๑ ครั้งเท่านั้นที่ส่งพนักงานอัยการระดับชั้นผู้ตรวจการอัยการเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน
          เข้าร่วม ขณะที่ประเทศผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่จะมีหัวหน้าคณะผู้แทนเป็นระดับรัฐมนตรี อัยการสูงสุด
          หรือรองอัยการสูงสุดเข้าร่วมเป็นส่วนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ระดับการให้ความสำคัญของที่ประชุม
          AMAG - MLAT และ SOM - MLAT ที่ผ่านมานั้น สำนักงานอัยการสูงสุดแสดงออกในทาง
          สัญลักษณ์ในลักษณะที่ยังไม่ให้ความสำคัญกับที่ประชุมทั้งสองเท่าที่ควร ทั้งที่การประชุมทั้งสองนั้น
          เป็นการประชุมที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของสำนักงานอัยการสูงสุดในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
          เมื่อเทียบกับการประชุมสมาคมกฎหมายอาเซียน (ASEAN Law Association) ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุด





              178   บทความ
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193