Page 187 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 187

ยาเสพติดในอาเซียนและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ที่จะขจัดการผลิต ขบวนการแปรรูป
                การลักลอบค้า  และการใช้ยาเสพติดที่ผิดกฎหมายในภูมิภาคอาเซียน  ซึ่งเป็นประเด็นที่มี
                ความเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับบทบาทส่วนหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของสำนักงานอัยการสูงสุด

                โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็นคดีที่มีปริมาณจำนวนมากและเป็นหนึ่ง
                ในภาระงานที่มากที่สุดของสำนักงานคดีอาญาของสำนักงานอัยการสูงสุด ดังนั้น การประชุมทั้งสอง
                จึงมีความสำคัญและสมควรเป็นอย่างยิ่งที่สำนักงานอัยการสูงสุดควรจะมีบทบาทในการให้ความเห็น
                ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสูงหน่วยงานหนึ่งของประเทศไทย อย่างไรก็ดี ในการตรวจสอบ
                ฐานข้อมูลดังกล่าวข้างต้น กลับไม่ปรากฏข้อมูลการส่งผู้แทนเข้าร่วมของสำนักงานอัยการสูงสุด
                แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องกับบทบาทของสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้
                มีความเป็นไปได้ว่า การเข้าร่วมประชุมทั้งสองเวทีอาจถูกเก็บแยกเป็นสำนวนไว้ในสารบบสำนวน
                ของสำนักงานคดียาเสพติดโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี หากข้อเท็จจริงเป็นดังกล่าว คือ ได้มีการส่งผู้แทน
                เข้าร่วมที่ประชุมทั้งสองโดยเพียงมีข้อมูลเก็บอยู่ที่สำนักงานคดียาเสพติดโดยสำนักงานต่างประเทศ

                ไม่สามารถเก็บบันทึกข้อมูลหรือรับทราบเกี่ยวกับการเข้าร่วมแต่อย่างใด กรณีก็จะเป็นเช่นเดียวกับ
                การส่งผู้แทนเข้าร่วมที่ประชุม AMMTC และ SOMTC ของสำนักงานอัยการสูงสุดภายหลังจากได้มี
                การตั้งสำนักงานคดีค้ามนุษย์ขึ้น ซึ่งปรากฏข้อมูลการส่งผู้แทนเข้าร่วมของสำนักงานต่างประเทศ
                ลดลงไปอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งสองกรณีแสดงให้เห็นถึงปัญหาของระบบภายในของสำนักงาน
                อัยการสูงสุดที่ต่างฝ่ายแต่ละสำนักงานสามารถติดต่อและประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศได้
                โดยตนเอง และข้อมูลการเข้าร่วมหรือสารัตถะและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมมิได้
                มีการแจ้งหรือให้สำนักงานต่างประเทศรับทราบแต่อย่างใด ดังนี้ บทบาทของสำนักงานต่างประเทศ

                ในฐานะหน่วยงานต้นทางในการติดต่อด้านการต่างประเทศกับหน่วยงานอื่นจึงได้ถูกลดทอนและ
                เสียประสิทธิภาพไป และทำให้สำนักงานอัยการสูงสุดขาดการดำเนินการอันเป็นเอกภาพ บูรณาการ
                และความต่อเนื่องในด้านสารบบข้อมูลและการประสานงานระหว่างหน่วยงานภายในอย่างชัดเจน
                

   ดังนั้น ท่าที (Position) ของสำนักงานอัยการสูงสุดต่อเวที AMMD และ ASOD ในปัจจุบันนั้น
                จึงเห็นควรว่า สำนักงานอัยการสูงสุดมีบทบาทหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องและจะได้รับผลกระทบจากมติ
                หรือการดำเนินการใด ๆ ของที่ประชุมดังกล่าวที่ผูกพันประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง จึงเห็นควรให้
                ความสำคัญกับที่ประชุมทั้งสองและผลักดันบทบาทของสำนักงานอัยการสูงสุดในฐานะหน่วยงาน
                ที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย และหากเป็นไปตามฐานข้อมูลสำนวนที่ปรากฏของสำนักวิเทศสัมพันธ์
                และศูนย์พันธกิจประชาคมอาเซียน สำนักงานต่างประเทศ ซึ่งไม่ปรากฏการส่งผู้แทนเข้าร่วมเลย

                ยิ่งจำเป็นจะต้องดำเนินการผลักดันและเพิ่มบทบาทในการมีส่วนร่วมของสำนักงานอัยการสูงสุด
                ต่อเวทีการประชุมระหว่างประเทศทั้งสองให้มากยิ่งขึ้น  โดยอย่างน้อยที่สุดควรให้มีผู้แทน
                ของสำนักงานอัยการสูงสุดเข้าร่วมด้วยในการประชุมทุกครั้ง
                     นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่า หากกรณีปรากฏว่ามีการเก็บข้อมูลสำนวนการเข้าร่วมการประชุม
                ในที่ประชุมทั้งสองไว้ในฐานข้อมูลของสำนักงานคดียาเสพติดโดยไม่ปรากฏในฐานข้อมูลของ
                สำนักงานต่างประเทศจริง ย่อมแสดงให้เห็นถึงปัญหาดังได้กล่าวถึงข้างต้น ดังนั้นระบบสารบบ
                ข้อมูลในการส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศและบันทึกสารัตถะจากการเข้าร่วม

                การประชุมระหว่างประเทศในองค์กรหรือเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ ซึ่งย่อมมีความเกี่ยวข้องกับ




                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  177
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192