Page 190 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 190

คณะกรรมการแห่งชาติสมาคมกฎหมายอาเซียนประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นเอกสารที่ใช้อ้างอิง
          ณ ปัจจุบันนั้น จะเห็นได้ว่า ประธานคณะกรรมการ รองประธานคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ
          คณะกรรมการอิสระ รวมถึงกรรมการส่วนใหญ่ ต่างเป็นบุคลากรในสายงานตุลาการและสำนักงาน
          ศาลยุติธรรมเสียมาก โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานอื่นเข้าร่วมในสัดส่วนที่น้อย รวมถึงผู้แทนสำนักงาน
          อัยการสูงสุดเองซึ่งมีสัดส่วนผู้แทนเพียง ๑ ตำแหน่งในคณะกรรมการทั้งหมดกว่า ๓๙ คนเท่านั้น
          เมื่อประกอบกับการพิจารณาการจัดงานที่ผ่านมาและวาระการประชุมในแต่ละครั้ง จะเห็นได้

          ว่าการประชุมหรือเข้าร่วมประชุม ALA ของคณะผู้แทนฝ่ายไทยนั้นอยู่ภายใต้การดำเนินการของ
          สำนักงานศาลยุติธรรมในฐานะเจ้าภาพใหญ่อย่างชัดแจ้ง และเนื้อหาการประชุมแต่ละครั้งก็ค่อนข้างให้
          น้ำหนักไปในประเด็นการร่วมมือของหน่วยงานศาลยุติธรรมค่อนข้างมาก การประชุมหลายครั้งยัง
          ผูกรวมเข้ากับการประชุมสภาประธานศาลสูงสุดอาเซียน (Council of ASEAN Chief Justices
          (CACJ)) อีกด้วย ดังนี้ จึงจะเห็นได้ว่า เวที ALA นี้ นอกจากจะเป็นเวทีที่เน้นในด้านการสร้าง
          สายสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานทางกฎหมายเป็นหลักมากกว่าในส่วนของการผลักดันประเด็นตาม
          ธรรมนูญสมาคมกฎหมายอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในขอบเขตบทบาทพันธกิจของ
          สำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว กรณีของประเทศไทยเวที ALA ยังเป็นพื้นที่ที่มีแนวโน้มให้น้ำหนักกับ
          ความร่วมมือระหว่างผู้พิพากษาและหน่วยงานศาลมากกว่าองค์การกฎหมายอื่น ๆ ของประเทศไทยด้วย
          มีเพียงน้อยครั้ง อาทิ การประชุม ๑๓  ASEAN Law Association General Assembly and
                                          th
             th
          ๔๐  ASEAN Law Association Governing Council Meeting, ๒๕ - ๒๘ July ๒๐๑๘,
          Singapore ซึ่งได้มีความพยายามจะให้ความสำคัญกับบทบาทของหน่วยงานอัยการของรัฐสมาชิก
          อาเซียนโดยมีการจัด Meeting of the Attorneys - General ๒๐๑๘, ๒๔ - ๒๖ July ๒๐๑๘,
          Singapore ขึ้นคู่ขนาน ณ ประเทศสิงคโปร์ คู่ขนาดไปกับการประชุม ALA
                ดังนั้น ท่าที (Position) ของสำนักงานอัยการสูงสุดต่อเวที ALA ในปัจจุบันนั้น จึงเห็นควร
          แสดงจุดยืนของสำนักงานอัยการให้ชัดเจนว่าการประชุมดังกล่าวไม่ใช่การประชุมที่สำคัญที่สุดของ
          สำนักงานอัยการสูงสุด (ซึ่งในที่นี้ขอเสนอว่าคือ AMAG - MLAT และ SOM-MLAT) โดยสำนักงาน
          อัยการสูงสุดอาจรักษาการมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในระดับกลาง  (ให้ความร่วมมือ

          ตามโอกาส) หรือเพียงจัดส่งคณะผู้แทนที่มีหัวหน้าคณะในระดับผู้ตรวจการอัยการหรืออธิบดีอัยการ
          ไปในการประชุมที่ตรวจสอบวาระแล้วพบว่าไม่ให้เน้นให้ความสำคัญกับบทบาทของพนักงานอัยการ
          หรืออาจงดส่งผู้แทนเข้าร่วมก็ได้ในบางกรณีที่เห็นว่าเหมาะสมดังที่ได้เคยทำมาแล้วในการประชุม
          บางครั้ง
                ทั้งนี้ แม้มีความเป็นไปได้ไม่สูงนักก็ตาม แต่หากการประชุมใดมีโอกาสในทำนองเดียวกับ
          การอาศัย ALA เป็นจุดริเริ่มของการจัดตั้ง CACJ ซึ่งเป็นที่ประชุมของผู้นำสูงสุดของศาลยุติธรรมแล้ว
          เห็นควรอาศัยโอกาสผลักดันให้เกิดการจัดตั้งที่ประชุมซึ่งเป็นเวทีเฉพาะของผู้นำสูงสุดของพนักงานอัยการ
          แต่ละรัฐสมาชิกได้ในลักษณะเดียวกันย่อมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประสานความร่วมมือกัน
          ระหว่างองค์การอัยการของรัฐสมาชิกอาเซียนต่าง ๆ
          

    (๓.๘) สภาประธานศาลสูงสุดอาเซียน (Council of ASEAN Chief Justices (CACJ))
                จากการตรวจสอบฐานข้อมูลสำนวนที่ปรากฏของสำนักวิเทศสัมพันธ์ และศูนย์พันธกิจ
          ประชาคมอาเซียน สำนักงานต่างประเทศ พบว่าไม่เคยมีการเชิญผู้แทนของสำนักงานอัยการสูงสุด
          เข้าร่วมประชุมแต่อย่างใด ทั้งเมื่อพิจารณาแล้วเวทีดังกล่าวมีลักษณะเป็นที่ประชุมระหว่างผู้นำของ




              180   บทความ
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195