Page 22 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 75 ฉบับที่ 1 มาราคม - มีนาคม 2565
P. 22

ตอนที่ ๗ เก่าจะไป ใหม่จะมา หาเวลา ไปรู้จัก

              อาคารไม้ อาคารเก่าใช่ว่าจะโบราณ


            อดีต มีทรัพยากรไม้ อุดมสมบูรณ์ ประชากร หรือความต้องการใช้สอยประโยชน์
          ไม่มาก เครื่องจักรกลก่อสร้างจ�ากัด จึงใช้ไม้ปลูกสร้างบ้านเรือน หรืออาคารสาธารณะ
          เช่น วัดวาอาราม นานวันเมือง หรือชุมชนเสื่อมความเจริญ หรือเกิดสงคราม ผู้คนอพยพ

          บ้านเรือน หรืออาคาร ไร้การดูแล บ�ารุงรักษา อาจมีอัคคีภัยจนมอดไหม้ อาจเสื่อม
          สลายตามกาลเวลา เพราะมอด ปลวก หรือกระบวนชีวเคมีของมอส ไลเคน หรือรา
          อย่างไรก็ตาม ในยุคร่วมสมัย ยังคงพบบ้านพักอาศัย อาคารสาธารณะ เช่น โรงเรียน
          สถานที่ราชการ ปลูกสร้างด้วยไม้เป็นหลัก หรือใช้ไม้เป็นส่วนประกอบ หากบ�ารุงรักษาดี
          อย่างสม�่าเสมอ ก็ย่อมใช้งานต่อไปได้ (รูปที่ ๒)
            อาจเพราะเราห่างเหินจากอาคารไม้มานาน หรือคิดว่าอาคารไม้ น่าจะเสื่อมความ

          นิยมเพื่อรักษ์โลก กอปรกับการออกแบบโครงสร้างไม้ ก�าลังจะห่างหายไปจากวิชา
          Steel & Timber Design (ทั้งที่อย่างน้อย เรายังต้องค�านวณแบบ นั่งร้าน และค�้ายัน)
          จึงท�าให้วิศวกร ไม่สนใจ ไม่รู้หลายเหตุผลในการค�านวณออกแบบ และใช้งานอาคารไม้
          ทั้งเรือนไทย เรือนไทยประยุกต์ หรือเรือนแบบต่าง ๆ อาทิ  เมื่อใดควรเลือกใช้ฝาประกน
          (กันฝนสาด) ฝาไหล (เป็นช่องแสง หรือช่องลม ที่เปิดปิด หรือปรับได้) หรือฝาส�าหรวด    ก. บ้านพักอาศัย

          เป็นช่องแสง ช่องลม หรือช่องระบายอากาศในตัว) การติดตั้ง หรือถ่ายน�้าหนักของโครง  (กลาง อนุเคราะห์โดย ปฐมพงศ์ เสนาใหญ่)
          เคร่าไม้ ส�าหรับฝากระดานซ้อนเกล็ดตามแนวนอน หรือแนวตั้ง การค�้ายันสูง กับเสา
          หรือเคร่า หรือค�้ายันต�่ากับหัวตง หรือเสา แทบไม่เคยได้ยิน หรือไม่รู้จักการบากไม้
          เข้ามุม ยึดด้วยสลัก เดือย หรือลิ่ม จนกลายเป็นตะปูปลายปล่อย ตะปูเกลียว แหวน
          หมุดยึด หรือหมุดร้อย ไม่เคยได้ยิน และรู้จักฟังก์ชั่นของบางองค์อาคาร หรือชิ้นส่วน
          อาทิ สะพานรับจันทัน เชิงชาย ฝักมะขาม (รูปที่ ๓)
            อาคารในอดีต หากไม่ใช้ไม้กระดานที่เว้นช่องว่างระหว่างแผ่นที่สามารถส่องมอง

          ทะลุชั้นได้ หรือเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ก็มักจะมีช่องระหว่างชั้น หากเป็นบ้านเรือน
          อาจท�าเป็นช่องลับ เรียก “ช่องดูโจร” (ประโยชน์ใช้สอยตามชื่อเรียก คือ สอดส่องเหตุ
          ไม่ปกติ หรือผู้บุกรุก เพราะอดีตไม่มีกล้อง CCTV) หากเป็นอาคารสาธารณะ หรืออาคาร
          ส�าคัญ เช่น ส�านักงาน ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ ห้องมั่นคง (Strong room) นอกจากจะเป็น
          ช่องดูโจรได้แล้ว ยังอาจเป็น “ช่องรับส่งของ” ช่องจะใหญ่ขึ้น เปิดปิดได้ หากไม่ใช้บาน

          ทึบ อาจเป็นตะแกรงเหล็ก หรือลูกกรงเหล็ก ยิ่งกว่านั้น อาคารพาณิชย์ตามย่านการค้า
          (เช่น ย่านส�าเพ็ง พาหุรัด วงเวียน ๒๒ กรกฎา) หากมีช่องระหว่างชั้นแล้ว มักสังเกต
          เห็นประตูหน้า และกันสาดชั้นบน เอื้ออ�านวยให้รถขนส่งสินค้า (เช่น รถบรรทุกสิบล้อ)
          จอดเทียบ เพื่อส่งล�าเลียงสินค้าเก็บไว้ชั้นสองได้โดยตรง (วิศวกรผู้ค�านวณโครงสร้าง
          อาจใช้ดุลยพินิจ ก�าหนดน�้าหนักบรรทุกจรมากกว่าเกณฑ์ขั้นต�่า) เมื่อจะจ�าหน่าย จึงส่ง
          หรือล�าเลียงลงมาโดยชักรอกลงมาทางช่องรับส่งของนั่นเอง มีบันทึกว่า ช่องรับส่งของนี้

          มีประโยชน์นักในยามเกิดอัคคีภัย เพราะช่วยระบายควัน และเอื้อการท�างานของ
          พนักงานผจญเพลิง แม้ยามจ�าเป็นจะต้องล�าเลียงคนเจ็บผ่านช่องทางนี้ ก็พอได้ (รูปที่ ๔)




                                                                                 ข. อาคารสาธารณะ - สถานที่ราชการ (กลาง
                                                                                   อนุเคราะห์โดย ทวีศักดิ์ ศักดิ์ศินานนทฺ์)
                                                                                       รูปที่ ๒ ตัวอย่างอาคารไม้
          22  วิศวกรรมสาร  ปีที่ 75 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2565
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27