Page 100 - รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563
P. 100

การลงทุนทางสังคม และการพัฒนาท้องถิ่น






























                                 ธุรกิจไม่สามารถประสบความสำาเร็จได้ในสังคมที่ล้มเหลว


                                       นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (ค.ศ.1997-2006)





                ภารกิจการมุ่งเป็น “ธนาคารเพื่อสังคม” ถือเป็นหนึ่งในบทบาทภารกิจที่สำาคัญของธนาคาร ในการส่งเสริมดูแลลูกค้าและประชาชน
            กลุ่มฐานราก รวมถึงกลุ่มองค์กรชุมชน เพื่อช่วยลดความเหลื่อมลำ้าทางสังคม ช่วยให้หลุดพ้นจากความยากจน ยกระดับรายได้
            ต่อยอดเป็นผู้ประกอบการรายย่อย สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศผ่านกระบวนงานหลักสำาคัญของธนาคาร

                ที่ผ่านมาธนาคารยังได้มุ่งมั่นต่อการลงทุนและพัฒนาสังคมท้องถิ่นในหลากหลายพื้นที่ ในรูปแบบกิจกรรมเพื่อสังคมมาอย่าง
            ต่อเนื่องอันมีส่วนส่งเสริมการพัฒนาในมิติด้านต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำาคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต ขับเคลื่อนความมั่นคง และ
            สร้างความสุขให้กับคนในชาติ โดยธนาคารมีการดำาเนินงานการลงทุนทางสังคมและการพัฒนาท้องถิ่นสำาคัญผ่านโครงการสำาคัญ ดังนี้



             1    โครงการส่งเสริมพัฒนาชุมชนท้องถิ่น



            โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำาปี 2563
                ในปี 2560 จากการร่วมมือกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ ดำาเนินกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนา
            ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้ชื่อ “ออมสิน-ธรรมศาสตร์โมเดล” และในปี 2561 มีสถาบันอุดมศึกษาสนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มเป็น
            16 แห่ง ร่วมกันพัฒนา 105 กลุ่มองค์กรชุมชน และเปลี่ยนชื่อเป็น โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น และดำาเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
            ซึ่งในปี 2562 มี 56 สถาบันอุดมศึกษา ร่วมกันพัฒนา 411 กลุ่มองค์กรชุมชน ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2563 ที่ได้ร่วมกับ 63 สถาบัน
            อุดมศึกษา ร่วมกันพัฒนา 463 ภูมิปัญญาชุมชน ให้อยู่คู่กับสังคมไทยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้แก่
            กลุ่มองค์กรชุมชนที่กระจายอยู่ในทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ











           96     ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105