Page 95 - รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563
P. 95

2    กลุ่มประชาชนฐานราก และประชาชนทั่วไป



              2.1  กิจกรรมการให้ความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy)
                  ธนาคารได้จัดกิจกรรมการให้ความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) แก่ลูกค้าฐานราก ปี 2563 โดยดำาเนินพัฒนา
                ศักยภาพแก่ลูกค้าฐานราก  ให้มีระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ลดปัญหาความเหลื่อมลำ้าทางสังคมและ
                ช่องว่างทางการเงิน ลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ สามารถสร้างโอกาสในการเข้าใช้บริการทางการเงินในระบบ ลด ละ เลิก
                ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำาเป็น ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิต มีความรู้ และมีภูมิคุ้มกันทางการเงินที่ดีขึ้นผ่านหลักสูตรการบริหารจัดการเงิน
                ส่วนบุคคล จำานวน 7 หลักสูตร คือ  • รู้ออม             • รู้หนี้สิน          • รู้บัญชีรับ-จ่าย

                                               • รู้พร้อมก่อนเป็นหนี้   • รู้เทคนิคการปลดหนี้   • รู้พอเพียง
                                               • รู้ภัยทางการเงิน

                                                   การดำาเนินงานที่สำาคัญ



                     กลุ่มลูกค้าฐานรากเข้าร่วมโครงการฯ  จำานวนทั้งสิ้น   กลุ่มลูกค้าฐานรากมีการพัฒนาความรู้ที่ดีขึ้น มีเงินออม
                     125,800 ราย                                    เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 และมีการจัดทำาบัญชีรับ-จ่าย
                                                                    จำานวนทั้งสิ้น 29,018 ราย จากเป้าหมาย 20,000 ราย
                     กลุ่มเป้าหมายมีการพัฒนาความรู้ดีขึ้น โดยวัดจากคะแนน  คิดเป็นร้อยละ 145.09
                     ทดสอบหลังการอบรม (Post-test) มากกว่าคะแนนทดสอบ
                     ก่อนการอบรม (Pre-test) จำานวน 121,226 ราย จาก
                     เป้าหมายธนาคาร 40,000 ราย (ร้อยละ 80 มีความรู้ที่ดีขึ้น)
                     คิดเป็นร้อยละ 303.07





              2.2  โครงการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการรายย่อย (พ่อค้าแม่ค้า)
                    ธนาคารได้สนับสนุนการให้ความรู้ทางการเงินแก่ผู้ประกอบการรายย่อยที่ค้าขายอาหารริมบาทวิถี (Street Food)
                  ซึ่งการให้ความรู้ทางการเงินเป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะช่วยให้ประชาชนจัดการกระบวนการทางความคิดได้อย่างเหมาะสมและ
                  มีแบบแผนมากขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ในการเปลี่ยนแปลงตนเอง ครอบครัว และคนรอบข้าง อันจะนำาไปสู่การเปลี่ยนแปลง
                  ในสังคม และระบบเศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศอย่างยั่งยืนในภายภาคหน้าสืบไป โดยรายละเอียดหลักสูตรการอบรม ดังนี้

                        การบริหารจัดการ การเงินส่วนบุคคล ประกอบด้วย 7 หลักสูตร ดังนี้
                        • รู้ออม                   • รู้หนี้สิน              • รู้บัญชีรับ-จ่าย
                        • รู้พร้อมก่อนเป็นหนี้     • รู้เทคนิคการปลดหนี้     • รู้พอเพียง
                        • รู้ภัยทางการเงิน


                        การพัฒนาและยกระดับอาชีพ ประกอบด้วย 3 หลักสูตร ดังนี้
                        • แผนธุรกิจ                • IT ช่วยคุณได้อย่างไร    • นวัตกรรม...ทำาอย่างไรให้ก้าวต่อไป


                        สร้างเงินริมบาทวิถีอย่างมืออาชีพ กับธนาคารออมสิน

                        การสุขาภิบาลอาหาร สำาหรับผู้สัมผัสอาหาร









                                                                        รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนประจำาปี 2563  91
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100