Page 77 - คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วมภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ พ.ศ. 2562
P. 77

4.2.9  การแต่งตั้งโฆษกเหตุการณ์

                          1)  ต้องมีการแต่งตั้งโฆษกของเหตุการณ์อย่างน้อย  1 คน เพื่อท�าหน้าที่แถลงข่าว
            ให้สัมภาษณ์ และตอบค�าถามของสื่อมวลชน ทั้งนี้ เพื่อให้การให้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
            ป้องกันการสับสน โฆษกยังท�าหน้าที่เป็นกันชนให้แก่ผู้บังคับบัญชาระดับสูง และเปิดโอกาสให้ผู้บัญชาการ
            เหตุการณ์มีเวลาบริหารวิกฤตการณ์ได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ผู้มีอ�านาจตัดสินใจ เช่น ผู้บัญชาการ
            เหตุการณ์ หรือผู้บริหารระดับสูงจ�าเป็นต้องให้ข้อมูลข่าวสารแก่สื่อมวลชนและสาธารณชนด้วยตนเองบ้าง
            เป็นครั้งคราวเพื่อให้ความมั่นใจแก่สาธารณชน รวมทั้งเพื่อขอความร่วมมือในสิ่งที่ส�าคัญและจ�าเป็น ดังนั้น
            เจ้าหน้าที่จัดการแถลงข่าวควรจัดก�าหนดการแถลงข่าวเป็นช่วง ๆ ตลอดเวลาที่มีวิกฤตการณ์ จนกระทั่ง
            เหตุการณ์จบลง พร้อมก�าหนดตัวผู้แถลงข่าว ประเด็นที่จะแถลง ก�าหนดกฎเกณฑ์ของการแถลงและ

            ท�าข่าว เป็นต้น แจ้งให้ผู้สื่อข่าวรู้ว่าเขาจะท�าอะไรได้บ้างหรือไม่ได้บ้าง เขาจะต้องปฏิบัติอย่างไร เขาจะไป
            ที่จุดใดได้หรือไม่ได้แล้วแจ้งให้สื่อมวลชนทราบล่วงหน้าโดยทั่วถึงกัน
                          2)  การจัดเตรียมประเด็นข้อมูลข่าวสารให้กับโฆษก (Speaker Preparation) การเตรียม
            ประเด็นข้อมูลข่าวสาร และเตรียมความพร้อมแก่โฆษกส�าหรับการแถลงข่าวและการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน
            มีขั้นตอนดังนี้

                             n  เตรียมร่างค�าแถลง เริ่มต้นด้วยเนื้อหาที่แสดงถึงความตั้งใจจริงในการรับผิดชอบ
                                ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แสดงความเห็นอกเห็นใจ ความห่วงใย วิธีคิดให้นึกถึงว่า
                                ท่านเองเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ท่านต้องการได้ยินผู้รับผิดชอบกล่าวถึงสิ่งใด
                                ให้เขียนสิ่งนั้นลงไป ตัวอย่างเช่น

                              “ก่อนที่จะพูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขอเรียนให้ท่านทั้งหลาย
                                ทราบว่า สิ่งที่รัฐบาล (ชื่อหน่วยงาน/องค์กร/บริษัท) ห่วงใยมากที่สุดคือความ
                                ปลอดภัยของคนในชุมชนแห่งนี้” หรือ “วัตถุประสงค์ที่ส�าคัญที่สุดในการปฏิบัติการ
                                ครั้งนี้คือ การแก้ไขสภาพเน่าเสียของแม่น�้านี้ ให้คืนสู่สภาวะที่บริสุทธิ์อย่างที่เคยเป็น
                                มาก่อนหน้านี้”

                             n  จากนั้นให้กล่าวถึงประเด็นส�าคัญ ๆ ที่ท่านต้องการเน้น 3 ประเด็น ก่อนที่จะ
                                เข้าตัวเนื้อเรื่อง ตัวอย่างเช่น
                              “เราก�าลังจะขจัดคราบน�้ามันออกจากสภาพแวดล้อม ปกป้องพื้นที่ที่เสียหาย
                                หรือถูกท�าลายได้ง่าย และฟื้นฟูชีวิตสัตว์ป่า รวมทั้งพันธุ์ไม้ในบริเวณที่เปื้อน

                                คราบน�้ามันทั้งหมด”
                             n  กล่าวซ�้าในประเด็นแรกที่ท่านเอ่ยถึงไปแล้ว และให้ข้อเท็จจริงสัก 2 – 4 ประเด็น
                                เพื่อสนับสนุนค�ากล่าวนั้น ตัวอย่างเช่น

                              “เราก�าลังขจัดคราบน�้ามันออกจากสภาพแวดล้อม วันนี้เราใช้เครื่องตัก ตักคราบ
                                น�้ามันออกไปจากแม่น�้าได้ประมาณ 500 แกลลอน คนงานก�าลังท�าความสะอาด
                                บริเวณชายหาด ด้วยการใช้ผืนผ้าขนาดใหญ่ดูดซับน�้ามันบนชายหาดออกทิ้งไป
                                โดยรวมเราสามารถขจัดคราบน�้ามันได้แล้วทั้งหมดกว่า 1 ล้านแกลลอน”



                                                      คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์  69
                                                      Practical Manual for Joint Information Center : JIC Under the Incident Command System
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82