Page 79 - คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วมภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ พ.ศ. 2562
P. 79

4)  ทันที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ไปถึงยังที่เกิดเหตุ จะต้องก�าหนดบริเวณซึ่งจะใช้เป็นที่ปฏิบัติ
            งานแถลงข่าว แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทุกคนในเขตปริมณฑลรอบนอก และพื้นที่รอบใน ให้ทราบว่าบริเวณนั้น
            อยู่ตรงที่ใดเพื่อพวกเขาจะได้ส่งผู้สื่อข่าวไป ณ ที่นั้น

                          5)  ก�าหนดจุดจอดรถถ่ายทอดและรถข่าว เพื่อมิให้กีดขวางเส้นทางจราจร โดยเฉพาะ
            อย่างยิ่งส�าหรับรถดับเพลิง หรือรถฝ่ายปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ต้องเป็น
            จุดที่ผู้สื่อข่าวสามารถเคลื่อนย้ายรถได้สะดวกพอสมควร เพื่อความรวดเร็วในการน�าข้อมูลข่าวสารไป
            ออกอากาศ
                          6)  การน�าผู้สื่อข่าวเข้าในพื้นที่เกิดเหตุ ต้องประสานกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

            เพื่อก�าหนดวิธีปฏิบัติ การติดเครื่องหมายแสดงตัว และจ�านวนผู้สื่อข่าวที่สามารถเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้
            ในแต่ละครั้ง

                   4.2.12 การติดตามและประเมินกระแสสื่อมวลชนและสาธารณชน

                          1)  รวบรวมข้อมูลขีดความสามารถของสื่อแต่ละแขนง ผู้สื่อข่าวที่มารายงานมีใครบ้าง
            ระดับไหน ใครเป็นหัวหน้าน�าทีมมา มีทีมข่าวปฏิบัติงานกี่ทีม มีรถถ่ายทอดดาวเทียมมากี่คัน ข้อมูลเหล่านี้
            จะบ่งบอกความส�าคัญของเหตุการณ์ และความสนใจของสื่อมวลชนที่มีต่อเหตุการณ์นั้น ๆ เจ้าหน้าที่
            ชุดปฏิบัติการประชาสัมพันธ์จะน�าข้อมูลดังกล่าวมาวางแผนการดูแลอ�านวยความสะดวกแก่ผู้สื่อข่าว และ
            จัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจ�าศูนย์ฯ ให้สอดคล้องกัน

                          2)  ใช้ระบบการท�างานของกองบรรณาธิการข่าว (ส�าหรับเจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์)
            ประเมินทิศทางการท�าข่าวของแต่ละสื่อ เพื่อประเมิน ก�าหนดและจัดประเมิน ก�าหนดและจัดท�าประเด็น
            ข้อมูลข่าวสาร เตรียมให้โฆษกเหตุการณ์ใช้แถลงข่าว รวมถึงการจัดท�าข่าวแจก และการจัดท�าข้อมูลประกอบ
            และข้อมูลสนับสนุนต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของสื่อมวลชน

                          3)  ติดตามการน�าเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน วิเคราะห์ทิศทางและประเด็นในการรายงาน
            ข่าวเพื่อน�ามาใช้ในการจัดเตรียมข้อมูล แนวค�าถามค�าตอบเพื่อใช้ในการแถลงชี้แจงข่าวและตรวจสอบการ
            น�าเสนอข้อมูลที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพื่อพิจารณาแก้ข่าวให้ถูกต้อง
                          4)  การประเมินสื่อมวลชน วิธีที่นิยมกันมากคือ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
            ซึ่งเป็นการวิเคราะห์การรายงานข่าวของสื่อมวลชน หรือความคิดเห็นของผู้อ่านผู้ชมผู้ฟังรายการข่าว

            เพื่อก�าหนดรูปแบบของข้อมูลข่าวสารที่มีการน�าเสนอโดยสื่อมวลชนหรือข้อคิดเห็นที่ผู้อ่านผู้ชมผู้ฟังรายการ
            มีต่อการปฏิบัติการของทางราชการ ประเด็นที่วิเคราะห์ ได้แก่ ภาพข่าว ข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริง และ
            ประเด็นส�าคัญที่สื่อมวลชนน�าเสนอ ส่วนวิธีการวิเคราะห์จะวิเคราะห์จากความยาวของรายการข่าว
            ที่ออกอากาศ ความยาวของรายงานข่าวที่น�าเสนอในหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นข่าวที่ปรากฏในหน้า 1 หรือ
            หน้าใน เป็นข่าวน�าหัวเรื่องตัวใหญ่ หรือเป็นข่าวเล็ก ๆ แหล่งข่าวที่อ้างในตัวข่าวเป็นใคร ภาพประกอบ
            และการใช้ค�าที่มีความหมายในทางลบ เป็นต้น

                          5)  การประเมินทัศนคติของสาธารณชน ท�าได้หลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ สมาชิกในชุมชน
            ที่ได้รับผลกระทบ การสังเกตพฤติกรรมของคนในชุมชน การใช้แบบสอบถาม ฯลฯ




                                                      คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์  71
                                                      Practical Manual for Joint Information Center : JIC Under the Incident Command System
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84