Page 75 - คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วมภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ พ.ศ. 2562
P. 75
4.2.7 การก�าหนดเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารที่จะเผยแพร่
1) เมื่อทราบกลุ่มเป้าหมายและความต้องการข้อมูลข่าวสารของกลุ่มเป้าหมาย
แต่ละกลุ่มแล้วจะต้องพิจารณาก�าหนดเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารที่จะเผยแพร่เพื่อตอบสนองความต้องการ
ของกลุ่มเป้าหมาย ขณะเดียวกันก็เป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่รัฐบาลหรือกองบัญชาการเหตุการณ์
ต้องการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายด้วย
2) ในขณะเกิดเหตุวิกฤต ต้องคิดต่อเนื่องทุกวันว่า ประเด็นที่ท่านจะสื่อสารไปยัง
กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ในแต่ละวัน ในแต่ละช่วงเวลา และในแต่ละสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปคืออะไร
3) จะต้องพบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่รู้ดีและเชี่ยวชาญและช�านาญในประเด็นเหล่านั้น
เพื่อท�าความเข้าใจเรื่องราวและเรียบเรียงให้อยู่ในรูปแบบภาษาที่เข้าใจง่าย
4) ต้องพิจารณาว่าในแต่ละประเด็นของเรื่องราว จะให้ข้อมูลข่าวสารได้มากน้อยเพียงใด
จึงจะเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
5) กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มมีความสนใจในประเด็นของแต่ละเรื่องราวแตกต่างกัน
ออกไปต้องหาวิธีเรียบเรียงเนื้อหาของข่าวสารให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละกลุ่ม เช่น ประชาชน
ที่อยู่พื้นที่ที่ต้องอพยพ ต้องการทราบว่ามีความจ�าเป็นมากน้อยเพียงใดจะต้องละทิ้งบ้านเรือน และอพยพ
ไปอยู่ที่อื่น จะต้องอยู่นานแค่ไหน ใครจะดูแลรักษาความปลอดภัยของบ้านเรือน ข้าวของ การอพยพจะต้อง
ท�าอย่างไร จะน�าสิ่งของอะไรติดตัวไปได้บ้าง
6) รวบรวมข้อมูลข่าวสารให้มากที่สุด จากการพูดคุยกับผู้สื่อข่าว ค้นหาในอินเทอร์เน็ต
คาดคะเนความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ส�ารวจสอบถามความคิดเห็นของผู้คนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
แล้วน�ามาก�าหนดเนื้อหาของข่าวสารที่จะเผยแพร่
7) ในบางสถานการณ์ ต้องเข้าใจมารยาทและจิตวิทยาในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
เช่น ในวัฒนธรรมของประเทศตะวันตก จะไม่มีการเปิดเผยชื่อของผู้ประสบอุบัติเหตุแก่สื่อมวลชน
เช่น กรณีเครื่องบินของกองทัพอากาศตก จนกว่าจะแน่ใจว่าญาติของผู้เสียชีวิต หรือบาดเจ็บได้รับ
การแจ้งเหตุแล้ว เนื่องจากเป็นมารยาทในการปฏิบัติที่ให้เกียรติแก่ญาติผู้เคราะห์ร้าย นอกจากนั้น
สื่อมวลชนตะวันตกจะไม่เผยแพร่ภาพของผู้เสียชีวิตเพราะถือเป็นการไม่ให้เกียรติแก่ผู้ตาย
4.2.8 การก�าหนดกลยุทธ์และสื่อที่ใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์
1) ก�าหนดสื่อประชาสัมพันธ์และช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพ
และเหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม เช่น การจัดแถลงข่าว การให้สัมภาษณ์ การรายงานข่าวเร่งด่วน การเผยแพร่ข่าว
ผ่าน Website ทางอินเทอร์เน็ต การประชุมผู้แทนชุมชน/อาสาสมัครเพื่อแจ้งข่าว เป็นต้น
2) ส�าหรับบางสถานการณ์ อาจจ�าเป็นต้องใช้จิตวิทยาในการติดต่อสื่อสารเนื่องจาก
มีความละเอียดอ่อนของประเด็นปัญหาและลักษณะเฉพาะของกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกันไป เช่นการสื่อสาร
กับชาวบ้านที่จ�าเป็นต้องถูกอพยพออกจากพื้นที่อันตราย แต่ไม่เต็มใจจะอพยพ เพราะจะไม่เห็นความจ�าเป็น
หรือเพราะเป็นห่วงข้าวของ หรือกรณีที่ต้องเปลี่ยนการประกอบอาชีพใหม่ แต่ชาวบ้านไม่ยินยอมปฏิบัติตาม
3) กลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มจ�าเป็นต้องสื่อสารโดยใช้ภาษาถิ่น หรือต้องสื่อสารผ่านผู้น�า
ท้องถิ่น ผู้น�าชุมชน หรือกลุ่มอื่นที่เขาเชื่อถือไว้วางใจ เป็นต้น
คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ 67
Practical Manual for Joint Information Center : JIC Under the Incident Command System