Page 177 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 177

แบบที่ 2 :  แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลพื้นเมืองทวารวดี หากประทับนั่งจะขัดสมาธิราบ
                       หลวมๆ ตามแบบศิลปะอมราวดี ส่วนใหญ่ประทับยืนตรง ขอบจีวรตกลงมาเท่ากันทั้ง 2 ข้างใน
                       ลักษณะสมมาตร แสดงวิตรรกะมุทราทั้ง 2 พระหัตถ์ พระเนตรโปน พระขนงต่อกันเป็นปีกกา

                       พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนา มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 15 (ภาพที่ 137)

                              แบบที่ 3 :  มีอิทธิพลของศิลปะขอมแบบบาปวนเข้ามาปะปน เช่น พระพักตร์เป็น
                       สี่เหลี่ยม มีร่องรักยิ้มแบ่งระหว่างพระหนุ ชายจีวรเป็นแผ่นใหญ่ปลายตัดตรงยาวลงมาถึง
                       พระนาภี ประทับนั่งขัดสมาธิราบเต็มที่ ได้แก่ พระพุทธรูปจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

                                                        6
                       คาดว่าคงมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16






































                                 ภาพที่ 137 พระพุทธรูปส าริดศิลปะทวารวดี ขุดพบที่เจดีย์หมายเลข 11 เมืองอู่ทอง
                                               จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง


                              ศาสตราจารย์ ปิแอร์ ดูปองต์ (Pierre Dupont) ได้ศึกษาและจัดหมวดหมู่พระพุทธรูป

                       ศิลปะทวารวดีอย่างละเอียดในหนังสือโบราณคดีมอญแห่งอาณาจักรทวารวดี (L’archéologie
                       mðne de Dvâravatî) โดยวิเคราะห์จากวิวัฒนาการของการครองจีวร ฐานบัว ระเบียบของขมวด

                       พระเกศา พระเกตุมาลาหรืออุษณีษะ และการปรากฏรัศมีรูปดอกบัวตูมเหนือพระเศียร








                                                               171
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182