Page 178 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 178
โดยพระพุทธรูปประทับยืนนั้นมีหลายหมวดหมู่ (ตั้งแต่หมู่ A - Q) พระพุทธรูปประทับ
นั่งมี 3 หมู่ส าคัญ (หมู่ R - T) ได้แก่ พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิไม่มีนาคปรก พระพุทธรูป
นาคปรก และพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท (ภาพที่ 138) ศาสตราจารย์ดูปองต์สรุปว่า
ศิลปะอมราวดีซึ่งอาจเจริญอยู่ในอาณาจักรฟูนันเป็นพื้นฐานส าคัญของศิลปะทวารวดี แต่ศิลปะ
ทวารวดีจะได้รับอิทธิพลอย่างมากจากศิลปะหลังคุปตะ และอิทธิพลของศิลปะทวารวดีก็ยังคงอยู่
ในศิลปะเขมรและศิลปะไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ด้วย โดยเฉพาะการแสดงมุทราที่
เหมือนกันทั้ง 2 พระหัตถ์ เห็นได้จากการแสดงวิตรรกะมุทรา 2 พระหัตถ์ในพระพุทธรูปศิลปะ
7
เขมรบนทับหลังที่ปราสาทหินพิมาย และพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรในศิลปะอยุธยา เป็นต้น
ภาพที่ 138 พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท จากวัดพระเมรุ เมืองนครปฐม
จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
8
5.1.2) พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี
ในศิลปะทวารวดีมีกลุ่มประติมากรรมพระพุทธรูปที่มักแสดงวิตรรกะมุทราทั้ง 2
พระหัตถ์ โดยมีทั้งแบบประทับนั่งหรือประทับยืนเหนือพาหนะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ผสมที่
เรียกว่า พนัสบดี (วนัสปติ) อันแปลว่า เจ้าป่า (ภาพที่ 139) แต่บางรูปก็ประทับเหนือครุฑ ซึ่งมี
ใบหน้าเป็นมนุษย์ แต่มีปีก และถือดอกบัวสองดอก (ภาพที่ 140)
172